Page 156 -
P. 156

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ซูเปอร์ออกไซด์ตัวอื่น  เช่น  ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  และอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล  (hydroxyl  radical)
          กล่าวคือเมื่อข้าวอยู่ในดินเค็มจะเกิด ROS มากกว่าปรกติ 3 เท่า และ H O  มากกว่าปรกติ 30 เท่า ซึ่ง
                                                                      2 2
          มากพอที่จะลดอัตราการสังเคราะห์แสงลง 50 %  ROS ที่เพิ่มขึ้นนั้นท�าอันตรายต่อเยื่อหุ้มคลอโรพลาสต์
          และเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย ส่วนอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของ ROS นั้น ท�าให้
          โมเลกุลของโปรตีนแปลงสภาพ  (protein  denature)  ซึ่งก่อผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเมแทบอลิซึมของ

          เซลล์ (Miller, 2002)
                      โดยปรกติพืชมีระบบการท�าลายอนุมูลอิสระ  2  วิธี  คือ  (1)  ใช้เอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์

          ดีสมิวเทส (superoxide dismutase, SOD) ท�าลายอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ และ (2) ไม่ใช้เอนไซม์
          แต่ใช้สารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) เช่น กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) และกลูตาไทโอน
          รูปรีดิวซ์ (reduced glutathione) ข้าวที่ทนเค็มมีความสามารถในการท�าลายอนุมูลอิสระ 2 วิธีได้ดีกว่า

          ข้าวที่ไม่ทนเค็ม (Tsai et al., 2004)
                  8.2.4 การขนส่งและการจัดแก็บไอออนพิษในระดับต้นพืช

                    กระบวนการขนส่ง (transport) และการจัดเก็บ (compartmentation) ไอออนพิษในระดับ
          ต้นพืช ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเค็มของพืชมีดังนี้ (Lin and Kao, 2001; Ochiai and Matoh, 2002)
                    1) การจัดเก็บไอออนพิษในล�าต้น  แผ่นใบแก่และกาบใบแก่  ข้าวที่ทนเค็มจะเคลื่อนย้าย

          โซเดียมและคลอไรด์ไปเก็บในแผ่นใบแก่และกาบใบแก่ซึ่งใกล้วาย  (senescence)  ให้วายเร็วขึ้น  เพื่อ
          รักษาใบอ่อนกว่าและมีความสามารถในการสังเคราะห์แสง เอาไว้ในสภาพที่มีโซเดียมและคลอไรด์ต�่าที่สุด

          ขณะเดียวกันยอดอ่อนก็มีโซเดียมและคลอไรด์ต�่าด้วย เพื่อให้แตกใบใหม่ออกมาทดแทนได้สัดส่วนกับใบแก่
          ที่วายไป
                    2) กีดกันไม่ให้ไอออนพิษไปยังใบธงและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์  ข้าวที่ทนเค็ม

          มีกลไกการควบคุมให้เคลื่อนย้ายโซเดียมและคลอไรด์ไปยังใบธงน้อยที่สุด  เพื่อรักษาสภาพใบธงไว้ให้
          ยาวนาน  เนื่องจากใบธงมีบทบาทส�าคัญในการสังเคราะห์แสง  เพื่อเพิ่มแป้งให้เมล็ดข้าว  นอกจากนั้น

          ยังมีกลไกการควบคุมให้เคลื่อนย้ายโซเดียมและคลอไรด์ไปยังช่อดอกน้อยที่สุดด้วย  ส�าหรับในช่อดอกนั้น
          สองธาตุนี้ในดอกย่อยจะต�่ากว่าที่ก้านดอกย่อย  ก้านช่อดอก  แกนช่อดอกและคอรวง  เนื่องจากดอกย่อย
          เป็นที่เกิดของเมล็ดข้าวและไวต่อผลกระทบจากเกลือมากที่สุด


          9. สรุปกลไกความทนเค็มของข้าว

                  กลไกหลักในความทนเค็มของข้าวมี 3 ประการ คือ
                  1) กลไกการกีดกัน (exclusion) ควบคุมการดูดไอออนพิษของราก
                  2) การจัดเก็บไอออนพิษในระดับต้นพืช  เคลื่อนย้ายไอออนพิษที่รากดูดได้ไปยังล�าต้น  กาบใบ

          และแผ่นใบแก่




          152 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161