Page 151 -
P. 151
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) ผลผลิตเมล็ดต่อไร่ ต�่า
2) จ�านวนเมล็ดต่อรวงน้อย
3) น�้าหนัก 1000 เมล็ดต�่า
4) ดัชนีการเก็บเกี่ยวต�่า
7. ผลของความเค็มในดินต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและชีวเคมีของข้าว
พืชแต่ละพันธุ์มีพื้นฐานทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ในด้านความสามารถเชิงการปรับเปลี่ยน
กระบวนการทางสรีระและชีวเคมี ให้ตอบสนองและอยู่ได้กับสภาพความเค็มของดินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม
แม้ว่ากระบวนการทางสรีระและชีวเคมีมากมายหลายกระบวนการ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตอบสนองต่อ
สภาพแวดล้อมดังกล่าว แต่มีเพียงไม่กี่กระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และการเปลี่ยนแปลงนั้น
เป็นกลไกด้านความทนเค็ม (salt tolerance mechanisms) ของพืชที่แท้จริง ข้อมูลจากธนาคารความรู้
เรื่องข้าว (IRRI Rice Knowledge Bank) ของสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice
Research Institute, IRRI) สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการที่ส�าคัญดังกล่าว เป็นกลไกที่เกี่ยวข้อง
กับการควบคุมด้านสรีระของข้าวใน 2 เรื่องที่ส�าคัญ คือ
1) ควบคุมสมดุลของน�้า (water balance) ภายในพืชให้เซลล์ยังมีความเต่ง
2) ควบคุมการกระจายของน�้าและธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ให้พอเหมาะ
พืชส่วนมากรวมทั้งข้าว เมื่อได้รับเกลือมากจะมีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทางสรีระและ
ชีวเคมี 11 ประการ (Munns, 2005) คือ
1) การดูดและเคลื่อนย้ายโซเดียมไอออนจากรากไปยังส่วนเหนือดิน
2) มักจะสะสมโซเดียมในใบแก่
3) รากดูดคลอไรด์ไอออนได้มากขึ้น
4) รากดูดโพแทสเซียมไอออนได้น้อยลง
5) น�้าหนักสดและน�้าหนักแห้งของรากและส่วนเหนือดินลดลง
6) การดูดสะสมฟอสฟอรัสและสังกะสีในส่วนเหนือดินลดลง
7) กิจกรรมของเอสเทอเรสไอโซไซม์ (esterase isozyme) เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (เอสเทอเรส
คือเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาการสลายพันธะเอสเทอร์ เช่น การสลายโมเลกุลของไขมัน)
8) มีการสังเคราะห์สารอินทรีย์ที่ละลายได้ให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อปรับสภาพออสโมซิสของเซลล์
9) มีปริมาณโพลีอะมีน (polyamine) เพิ่มขึ้น
10) มีปริมาณออกซิเจนชนิดรีแอกทีฟ (reactive oxygen species, ROS) เพิ่มขึ้น
11) มีการส่งสัญญาณแสดงว่ามีความเครียดจากเกลือ (salt stress signaling) ไปยังเซลล์คุม
เพื่อสั่งการให้ปิดปากใบ
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว 147