Page 148 -
P. 148
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.2 ดินเค็มภาคกลาง
ดินเค็มภาคกลางเป็นพื้นที่ซึ่งน�้าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน ก�าเนิดจากตะกอนน�้าทะเลและตะกอน
น�้ากร่อย มีตะกอนน�้าจืดทับถมอยู่ข้างบน ดินจึงมีสภาพความเค็มในดินล่างสูงกว่าดินบน ในบริเวณที่มี
ชั้นดินจากตะกอนน�้าจืดบางและน�้าใต้ดินสูงจะพบดินเค็มซึ่งมีสภาพความเค็มแตกต่างกันเป็นหย่อมๆ พบ
ดินเค็มในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท มีพื้นที่ดินเค็มรวมกัน
ประมาณ 2 แสน 2 หมื่นไร่ ในพื้นที่ลุ่มซึ่งมีความเค็มระดับปานกลางชาวนาใช้ปลูกข้าวแต่ให้ผลผลิตต�่า
2.3 ดินเค็มชายทะเล
ดินเค็มชายทะเลส่วนที่ติดกับทะเล เกิดจากอิทธิพลของน�้าทะเลท่วมถึง ส่วนที่สูงขึ้นมาเป็นพื้นที่
ซึ่งน�้าทะเลเคยท่วมมาก่อน จึงแบ่งดินเค็มชายทะเลเป็น 2 ส่วน คือ
1) บริเวณพื้นที่ลุ่มน�้าทะเลท่วมถึง วัตถุต้นก�าเนิดเป็นตะกอนน�้าทะเลและตะกอนน�้ากร่อย ดิน
มีลักษณะเป็นดินเลน มีความชื้นสูง พืชพรรณธรรมชาติเป็นไม้ชายเลนซึ่งเป็นพืชดินเค็ม (halophyte)
2) บริเวณพื้นที่ถัดขึ้นมาซึ่งน�้าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน วัตถุต้นก�าเนิดเป็นตะกอนน�้าทะเลและ
ตะกอนน�้ากร่อยเช่นเดียวกัน เนื้อดินเป็นดินเหนียว อาจพบชั้นทรายและเปลือกหอยในดินล่าง
ดินเค็มชายทะเลมีเนื้อที่ประมาณ 2 ล้าน 6 แสนไร่ ชุดดินที่มีปัญหาดินเค็มได้แก่ ชุดดิน
บางปะกง ชุดดินหนองแก ชุดดินท่าจีน ชุดดินสมุทรปราการ ชุดดินสมุทรสงคราม และชุดดินตะกั่วทุ่ง
ในบางบริเวณซึ่งมีความเค็มระดับปานกลาง ชาวนาใช้ปลูกข้าวที่ทนเค็ม ซึ่งให้ผลผลิตต�่า
3. การเจริญเติบโตของข้าวในดินเค็มและดินโซดิก
3.1 ข้าวในดินเค็ม
ข้าวเป็นพืชทนเค็มปานกลาง และดูเหมือนจะทนเค็มกว่าพืชไร่และพืชสวนทั่วไปซึ่งปลูกในสภาพ
ดินไร่ อันมีความชื้นสูงสุดไม่เกินความจุความชื้นสนาม (field capacity) เนื่องจากการวัดความเค็มของ
ดินใช้ตัวอย่างดินแห้งมาท�าให้อิ่มด้วยน�้า แล้วสกัดดินที่อิ่มตัวด้วยน�้ามาวัดการน�าไฟฟ้า เพื่อประเมินระดับ
ความเค็มของดิน ส่วนการปลูกข้าวท�าในสภาพน�้าขังซึ่งเกลือในดินเจือจางลงมาก ดังนั้นดินที่มีคราบเกลือ
เล็กน้อยในฤดูแล้ง จึงสามารถปลูกข้าวได้ในฤดูฝน แต่การปลูกพืชหลังนาในฤดูแล้งไม่ค่อยได้ผล
ส�าหรับข้าวโดยทั่วไป เมื่อค่าการน�าไฟฟ้าของสารละลายดินที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน�้าที่ 25 C
O
เท่ากับ 6-10 dSm ผลผลิตของข้าวจะลดลงร้อยละ 50 โดยข้าวได้รับผลกระทบจากเกลือที่ละลายได้
-1
ในบริเวณไรโซสะเฟียร์ (rhizosphere) คือ โซเดียมและคลอไรด์ไอออน มากกว่าผลกระทบด้านการดูดน�้า
เนื่องจากปลูกข้าวในสภาพน�้าขัง นอกจากนั้นการขังน�้าท�าให้เกลือในสารละลายดินเจือจางลงตามสัดส่วน
ของปริมาณน�้าที่ขังในนา อย่างไรก็ตาม ข้าวทนทานต่อความเค็มในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตแตกต่างกัน
กล่าวคือ ในช่วงแตกกอข้าวจะทนเค็มมากกว่าในช่วงเป็นกล้าอ่อนและระยะเจริญพันธุ์ นอกจากนี้พันธุ์ข้าว
ต่างกันก็ทนทานต่อความเค็มมากน้อยต่างกันด้วย
144 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว