Page 145 -
P. 145

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            ดังกล่าว สามารถสกัดน�้าออกมาวัดการน�าไฟฟ้าได้ง่าย และค่าที่วัดได้ สามารถใช้ประมาณค่าการน�าไฟฟ้า
            ที่ความจุความชื้นสนามได้ด้วย ตามค�าอธิบายในข้อ (2)

                       (2) ส�าหรับการวัดการน�าไฟฟ้าของดินไร่  ขณะที่ดินมีความจุความชื้นสนามท�าไม่ได้
            แต่นักปฐพีวิทยาใช้วิธีประมาณการ  และพบว่าในดินชนิดหนึ่ง  อิเล็กโทรไลต์ในสารละลายที่สกัดจากดิน
            ซึ่งอิ่มตัวด้วยน�้า  มีความเข้มข้นประมาณครึ่งหนึ่งของความเข้มข้นในสารละลายดิน  เมื่อดินนั้นมีความจุ

            ความชื้นสนาม  ค่าการน�าไฟฟ้าของดินจึงสัมพันธ์กับความเข้มข้นของเกลือในไรโซสเฟียร์ของพืชในดินไร่
                          (3) เมื่อน�าค่าการน�าไฟฟ้า (EC ) ของดิน จากการวัดในสารละลายที่สกัดจากดินที่
                                                       e
            อิ่มตัวด้วยน�้า  (soil  saturated  extract)  มาหาสหสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและผลผลิตพืชปลูกและ
            พืชดินเกลือ (halophyte) จึงก�าหนดระดับความเค็มของดินและผลกระทบต่อพืช ดังตารางที่ 4.7
                        2) อัตราส่วนการดูดซับโซเดียม (sodium adsorption ratio, SAR) วัดจากสารละลาย

            ที่สกัดจากดินซึ่งอิ่มตัวด้วยน�้าได้ค่า 13 (ไม่มีหน่วย) เมื่อน�าไปอ่านจาก monogram ของ USDA (1969) จะ
            ได้ค่าใกล้เคียงกับเปอร์เซ็นต์โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดิน (exchangeable sodium percentage, ESP)

            15 % แต่ในการจ�าแนกดิน นิยมใช้ค่าอัตราส่วนการดูดซับโซเดียม เพราะวิเคราะห์โดยตรงจากสารละลาย
            ที่สกัดจากดินซึ่งอิ่มตัวด้วยน�้า ซึ่งเป็นสารละลายเดียวกันกับที่ใช้วัดค่าการน�าไฟฟ้า
                        3) ค่าพีเอชที่ใช้แยกระหว่างดินเค็มและดินโซดิกนั้น คู่มือฉบับเดิม USDA (1954) และ

            คู่มือฉบับปรับปรุง USDA (1969) ใช้ค่าพีเอช 8.5 เป็นเกณฑ์ และอภิธานศัพท์ปฐพีวิทยา (Glossary of
            Soil  Science  Terms)  ของสมาคมปฐพีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา  (SSSA)  ก็ใช้ค่าเดียวกัน  ต่อมา  FAO

            ได้ปรับปรุงมาใช้ค่าพีเอช 8.2 ตาม FAO Soil Bulletin 39 ของคณะผู้เชี่ยวชาญเมื่อ พ.ศ 2531 (Abrol
            et al., 1988) การใช้ค่าพีเอช 8.2 หรือ 8.5 ซึ่งต่างกันเล็กน้อย ไม่ท�าให้การจ�าแนกดินแตกต่างกัน




            ตารางที่ 4.7  ค่าการน�าไฟฟ้าของดินและผลต่อการเจริญเติบโตของพืช


                การน�าไฟฟ้า     ระดับความเค็ม                 ผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
                     -1
                 (dSm )*           ของดิน
                   0-2          ไม่เค็ม           ไม่มีผลกระทบต่อพืชทั่วไป หรือมีผลกระทบน้อยมาก

                   2-4          เค็มน้อย          การเจริญเติบโตของพืชที่ไวต่อความเค็มมากๆ อาจลดลงบ้าง
                   4-8          เค็มปานกลาง       การเจริญเติบโตของพืชปลูก (crops) ส่วนมากลดลง

                  8-16          เค็มมาก           พืชทนเค็มเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ดี

                   >16          เค็มมากที่สุด     พืชทนเค็มบางชนิดเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ดี

             ที่มา : USDA (1969) *เดิมใช้หน่วยมิลลิโม/เซนติเมตร (mmho/cm)




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                       ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว  141
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150