Page 142 -
P. 142

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                  1) การปรับสภาพน�้าเปรี้ยว  โดยให้น�้าไหลผ่านปูนก่อนน�าน�้าไปใช่ในการท�านา  ช่วยให้ข้าว
          เจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับการใช้ปูนปรับปรุงดิน ซึ่งวิธีการปรับสภาพน�้าช่วยลดปัญหา

          ในการขนย้ายปูนไปใส่ในนา ประหยัดค่าแรงงานด้วย (อภิชาต และคณะ, 2537)
                  2) การขังน�้าในนาข้าว การขังน�้าในดินเปรี้ยวจัดตลอดเวลา ช่วยยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น

          ลดการละลายได้ของเหล็กและอะลูมินัม  และลดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมินัมที่มีต่อข้าว  ดังนั้น
          การปล่อยน�้าให้ท่วมนาข้าวก่อนท�านาเป็นเวลานาน  จะมีผลดีต่อการปลูกข้าว  ข้าวเจริญเติบโตดี  มีการ
          แตกกอสูงขึ้น และได้ผลผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย

               8.4 การคัดเลือกพันธุ์ข้าวพันธุ์แนะน�าปลูกในดินเปรี้ยวจัด
                  ดินเปรี้ยวจัดที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว  สามารถปลูกข้าวได้ทุกพันธุ์  การเลือกพันธุ์ข้าว

          มาปลูกนั้น จ�าเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ความ
          ต้องการบริโภคของประชากรในพื้นที่  ความต้องการของตลาดและราคาข้าวอยู่ในเกณฑ์สูง  เพราะเกษตรกร

          ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวไว้รับประทาน และส่วนที่เหลือจ�าหน่ายให้โรงสี
                  ส�าหรับพันธุ์ข้าวที่แนะน�าให้ปลูก  ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในภาคต่างๆ  มีดังนี้  (สถาบันวิจัยข้าว,
          ปี 2542, 2543 และ 2544 และรุจิพร, 2545)

                  1) ภาคกลางและภาคตะวันออก
                    (1) พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง  ได้แก่  ข้าวจ้าวพันธุ์  กข.  ต่างๆ  ปทุมธานี  1  ปทุมธานี  60

          สุพรรณบุรี 60  สุพรรณบุรี 90  ชัยนาท 1  พิษณุโลก 2 เป็นต้น
                    (2) พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง  ได้แก่  ขาวดอกมะลิ  105  ข้าวหอมคลองหลวง  เก้ารวง  88
          ขาวตาแห้ง 17  ขาวปากหม้อ 148  นางมลเอส-4  เหลืองปะทิว 123  เป็นต้น

                  2) ภาคใต้
                    (1) พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ ปทุมธานี 1  ปทุมธานี 60  สุพรรณบุรี 60  สุพรรณบุรี 90

          ชัยนาท 1  พิษณุโลก 2 เป็นต้น
                    (2) พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง  แนะน�าให้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง  ได้แก่  พันธุ์ลูกแดงปัตตานี

          แก่นจันทร์  นางพญา 132  เล็บนกปัตตานี  เฉี้ยงพัทลุง  กข 13  เผือกน�้า 43  พวงไร่ 2 เป็นต้น



          9. แนวทางการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง
                  การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด  เพื่อปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง  สามารถท�าได้โดยบูรณาการวิธีการ
          จัดการดิน จัดการน�้าและจัดการพืชที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน และปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

               9.1 ระบบการจัดการ
                  ระบบการจัดการพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าวมี 4 ขั้นตอน ดังนี้






          138 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147