Page 144 -
P. 144

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                                               ตอนที่ 2

                                       ดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ






          1. ประเภทของดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ
                  ในข้อนี้จะอธิบายการจ�าแนกและเปรียบเทียบสมบัติของดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือแต่ละ
          ประเภท

               1.1 การจ�าแนกดินตามลักษณะผลกระทบจากเกลือ
                  ดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ (salt affected soils) คือ ดินซึ่งมีที่เกลือละลายง่ายหรือไอออน

          ของเกลือที่ละลายง่ายมากเกินไป  จนท�าให้การเจริญเติบโตของพืชลดลง  เกลือที่เข้ามามีอิทธิพลต่อดิน
          มีหลายชนิด  แต่ที่เป็นหลัก  คือ  โซเดียมคลอไรด์  อาจจ�าแนกดินประเภทนี้เป็น  3  ชนิด  คือ  ดินเค็ม
          (saline  soils)  ดินโซดิก  (sodic  soils)  และดินเค็มโซดิก  (saline-sodic  soils)  (คณาจารย์ภาควิชา

          ปฐพีวิทยา, 2548; Chhabra,1996)
                  1.1.1 ดินเค็ม (saline soils)

                      ดินเค็มเป็นดินซึ่งมีเกลือที่ละลายน�้าได้ง่ายในปริมาณมาก  จนท�าให้การเจริญเติบโตของ
          พืชลดลง ค่าการน�าไฟฟ้า (electrical conductivity, EC ) ของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน�้า
                                                          e
                                                                    o
                                                             -1
          (soil saturated extract) สูงกว่า 4 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร (dSm ) ที่ 25 C ค่าอัตราส่วนการดูดซับโซเดียม
          (sodium adsorption ratio, SAR) ต�่ากว่า 13 พีเอช (pH) ของดินน้อยกว่า 8.5 (e ซึ่งเป็นตัวห้อยใน EC e
          ย่อมาจาก extract ถ้าเป็นค่าการน�าไฟฟ้าของน�้าใช้ EC  เมื่อ w ย่อมาจาก water)
                                                       w
                      ส�าหรับความหมายของค่าการน�าไฟฟ้า  อัตราส่วนการดูดซับโซเดียม  และพีเอชในการ
          จ�าแนกประเภทของดินมีดังนี้
                      1) ค่าการน�าไฟฟ้าของสารละลาย  เป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มข้นของอิเล็กโทรไลต์

          ในสารละลายนั้น เมื่อน�าสารละลายโซเดียมคลอไรด์ซึ่งมีความเข้มข้น 9 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร มาวัด
                                        -1
          การน�าไฟฟ้า จะได้ค่าเท่ากับ 1 dSm  (เดิมใช้หน่วยมิลลิโมต่อเซนติเมตร หรือ mmho/cm) ซึ่งสามารถ
          น�าค่าการน�าไฟฟ้ามาเชื่อมโยงกับสภาพความเค็มของดินดังนี้
                        (1) ค�า  saline  เป็นคุณศัพท์  แปลว่า  “เค็มเหมือนเกลือ”  จึงเรียกดินที่มีเกลือมาก
          ว่าดินเค็ม  (saline  soil)  ดินนี้มีค่าการน�าไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน�้าสูงกว่า  4

          เดซิซีเมนส์ต่อเมตร (dSm ) ที่ 25 C
                               -1
                                      o
                        แม้ว่าค่าคงที่ความชื้นของดินชนิดหนึ่งมี 3 ค่า คือ ความชื้นเมื่อดินอิ่มตัว (saturation
          point)  ความจุความชื้นสนาม  (field  capacity)  และจุดเหี่ยวถาวร  (permanent  wilting  point)
          การก�าหนดความชื้นดินส�าหรับวัดการน�าไฟฟ้าไว้ที่จุดอิ่มตัว มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากดินในสภาพ



          140 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149