Page 146 -
P. 146

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                      กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา  (USDA,  1954)  ได้แบ่งระดับความเค็มของดินตาม

          ค่าการน�าไฟฟ้าและผลกระทบต่อพืชอย่างกว้างๆ เมื่อ ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) และปรับปรุงเมื่อ ค.ศ. 1969
          (พ.ศ. 2512) เป็น 5 ระดับ ซึ่งนักวิชาการโดยทั่วไปยังคงยึดถือแนวทางนี้จนถึงปัจจุบัน ดังตารางที่ 4.7

                  1.1.2 ดินโซดิก (sodic soils)
                      ดินโซดิกเป็นดินที่ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงจนท�าให้การเจริญเติบโตของพืชลด
          ลง ดินมีค่าการน�าไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน�้าต�่ากว่า 4  dSm  ที่ 25 C ค่า SAR สูง
                                                                              -1
                                                                                    o
          กว่า 13 พีเอชของดินสูงกว่า 8.5
                  1.1.3 ดินเค็มโซดิก (saline-sodic soils)

                      ดินเค็มโซดิกเป็นดินที่มีเกลือที่ละลายน�้าได้ในปริมาณมากและมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้
          สูงจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช  ค่าการน�าไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วย
          น�้าสูงกว่า 4 dSm  ที่ 25 C ค่า SAR สูงกว่า 13 พีเอชของดินต�่ากว่า 8.5
                         -1
                               o
               1.2 เปรียบเทียบสมบัติของดินเค็มและดินโซดิก
                  ดินเค็มและดินโซดิกมีสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างชัดเจน  จึงมีผลกระทบต่อพืช
          ต่างกันและใช้วิธีการปรับปรุงต่างกัน ดังตารางที่ 4.8



          2. ดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือในประเทศไทย
                  แม้ว่าดินที่ได้รับผลกระทบจากเกลือจะมี  3  ประเภท  คือ  ดินเค็ม  ดินโซดิกและดินเค็มโซดิก

          แต่ในประเทศไทยมีดินเค็มมากกว่าดินโซดิกและดินเค็มโซดิก  ดินสองประเภทหลัง  พบในบางพื้นที่ของ
          ชายฝั่งทะเลและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  ดินเค็มในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มภาคกลาง
          และดินเค็มชายทะเล (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)
               2.1 ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นดินเค็มในแผ่นดินหรือดินเค็มบก  เกลือที่สะสมในดิน
          มาจากหินเกลือ ซึ่งมีโซเดียมคลอไรด์เป็นองค์ประกอบหลัก เกลือได้ละลายออกมาอยู่ในน�้าใต้ดิน กรณีที่

          น�้าใต้ดินอยู่ไม่ลึกนัก  เมื่อน�้าใต้ดินเคลื่อนที่สู่ผิวดินด้วยแรงแคปปิลลารี  เกลือก็เคลื่อนที่ขึ้นมากับน�้าและ
          สะสมในชั้นดิน  พบเกลือมากบริเวณดินบนและผิวดิน  ในดินที่เค็มจัดจึงพบคราบเกลือบนผิวดินอย่าง
          ชัดเจนในฤดูแล้ง

                  ความเค็มของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี  4  ระดับ  คือ  ดินเค็มจัดประมาณ 1  แสนไร่
          ดินเค็มมากประมาณ 2 แสน 3 หมื่นไร่ ดินเค็มปานกลางประมาณ 3 ล้าน 8 แสนไร่ และดินเค็มน้อย
          ประมาณ 7 ล้าน 3 แสนไร่ รวมพื้นที่ประมาณ 11 ล้าน 5 แสนไร่ ในจ�านวนนี้เป็นดินเค็มปานกลางและ

          ดินเค็มน้อยประมาณ 11 ล้าน 1 แสนไร่ หรือ 96.5 % ในพื้นที่ลุ่มซึ่งมีความเค็มระดับต�่าและปานกลาง
          ชาวนาใช้ปลูกข้าวแต่ให้ผลผลิตไม่สูงนัก



          142 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151