Page 141 -
P. 141

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    8.2.3 การใช้น�้าหมักชีวภาพที่เตรียมจากสารเร่ง พด.2
                        น�้าหมักชีวภาพได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์  ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดหรือ

            อวบน�้า  โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่ต้องการอากาศ  จากการวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนชนิด
            ต่างๆ ในน�้าหมักชีวภาพที่ผลิตจากผลไม้ พบว่า มีฮอร์โมนสูงกว่าน�้าหมักชีวภาพที่ผลิตจากปลา โดยเฉพาะ
            ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน  ที่ตรวจพบสูงถึง  136.76  มิลลิกรัมต่อลิตร  นอกจากนั้นยังตรวจพบฮอร์โมน

            ออกซินและไซโตไคนิน ที่มีปริมาณ 16.19 และ 19.09 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามล�าดับ การใช้น�้าหมักชีวภาพ
            ให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้องใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบ�ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)

            น�้าหมักชีวภาพที่ฉีดพ่น  ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช  เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช  เพิ่มการ
            ขยายตัวของใบและการยืดตัวของล�าต้น ส่งเสริมการออกดอกและติดผลของพืช (ภาพที่ 4.4) (เสียงแจ๋ว
            และคณะ, 2550)

























                          ภาพที่ 4.4  ฉีดพ่นน�้าหมักชีวภาพให้ข้าว เมื่อข้าวอายุ 30  50  และ 60 วัน



                 8.3 การจัดการน�้าในดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว

                    น�้าเป็นปัจจัยที่จ�าเป็นส�าหรับการปลูกพืชทุกชนิด  โดยเฉพาะปลูกข้าว  ต้องมีน�้าขังในนาตลอด
            ฤดูการปลูก  ถ้าข้าวขาดน�้าในช่วงตั้งท้อง  เมล็ดข้าวจะลีบ  ได้ผลผลิตข้าวต�่า  นอกจากนั้นนาข้าวที่เป็น
            ดินเปรี้ยวจัด  การมีน�้าขังในนาช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชันของไพไรท์ในดิน  ลดการเกิดกรดเพิ่มขึ้น

            ในดิน  และการระบายถ่ายเทน�้าช่วยล้างกรดและสารพิษออกไปจากดิน  ข้าวที่ปลูกจะเจริญงอกงามและ
            ให้ผลผลิตสูง  ดังนั้นในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่อยู่ในเขตชลประทาน  มีคลองส่งน�้า  มีน�้าใช้ตลอดปี  เกษตรกร

            สามารถปลูกข้าวได้ปีละอย่างน้อย  2  ครั้ง  ดินมีความชุ่มชื้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ท�าให้ดินเปรี้ยวจัดที่
            ปรับปรุงด้วยวัสดุปูน  มีความรุนแรงของกรดลดลงอย่างต่อเนื่อง    ท�าให้ประสิทธิภาพของปูนที่ใช้อยู่ได้
            นาน 4-5 ปี ช่วยลดปริมาณการใช้ปูนในครั้งต่อๆ ไป เป็นการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                       ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว  137
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146