Page 140 -
P. 140
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) การไถกลบฟางและตอซังข้าว ปัจจุบันเกษตรกรเก็บเกี่ยวและนวดข้าวในนา ท�าให้
ฟางข้าวทั้งหมดเหลือทิ้งในนา ดังนั้นการไถกลบฟางและตอซังข้าวจะได้ธาตุอาหารกลับลงดินปริมาณมาก
ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณธาตุอาหารที่ข้าวดูดสะสมไว้ในล�าต้นด้วย การไถกลบตอซังข้าวหมักลงดินก่อนปลูกข้าว
จึงเป็นวิธีการที่สามารถช่วยลดปริมาณธาตุอาหาร (ปุ๋ยเคมี) ที่จะใส่เพิ่มลงดิน เป็นการช่วยลดต้นทุนการ
ผลิตและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง
2) การใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว อิทธิพลของปุ๋ยพืชสด นอกจากช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ
ในดิน เพิ่มปริมาณไนโตรเจนและธาตุอาหารบางชนิดให้แก่พืชที่ปลูก ท�าให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดี และให้
ผลผลิตข้าวสูงแล้ว ปุ๋ยพืชสดยังช่วยลดความเป็นพิษของอะลูมินัมได้ เนื่องจากปุ๋ยพืชสดเพิ่มอินทรียวัตถุ
ในดิน และเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับอะลูมินัม ท�าให้อะลูมินัมลดการละลายลง การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับ
ปุ๋ยเคมี ควรลดอัตราปุ๋ยเคมีไนโตรเจนลงบางส่วน หรือกรณีที่พื้นที่นั้นๆ มีอินทรียวัตถุสูง อาจไม่ต้องใช้
ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนก็ได้ ปลูกพืชปุ๋ยสดให้ได้มวลชีวภาพสูง (1.5-2.0 ตันต่อไร่) แล้วไถกลบจะได้ปริมาณ
ไนโตรเจนเพียงพอส�าหรับข้าวที่ปลูก
โสนอัฟริกันเป็นพืชปุ๋ยสดชนิดหนึ่ง (ภาพที่ 4.3) ที่เหมาะสมที่จะน�าไปปลูกปรับปรุง
บ�ารุงดินเปรี้ยวจัดซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต�่า เนื่องจากโสนอัฟริกันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพน�้าขัง และมีปมทั้งที่
รากและล�าต้น ดูดไนโตรเจนจากอากาศได้มาก ให้น�้าหนักสดสูง และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ข้าว
ที่ปลูก สามารถลดปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใช้และเพิ่มรายได้สูงขึ้น (นงคราญ และ ชูจิตต์, 2549) นอกจากนั้น
ยังพบว่า การใช้ปุ๋ยพืชสดและน�้าหมักชีวภาพ พด.2 ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ
ในดิน โดยจุลินทรีย์ดินช่วยย่อยสลายพืชปุ๋ยสด เพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุ
ประจุบวก และผลิตกรดบางชนิด ช่วยในการละลายสารประกอบฟอสเฟตในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช
มากขึ้น (เสียงแจ๋วและคณะ, 2550)
ภาพที่ 4.3 ปลูกพืชตระกูลถั่ว (โสนอัฟริกัน) ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด
136 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว