Page 135 -
P. 135
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) ข้าวพันธุ์ที่เป็นพิษจากเหล็กน้อยหรือทนต่อเหล็ก จะดูดเหล็กน้อยและเคลื่อนย้ายเหล็กไป
ยังใบน้อยกว่าพันธุ์ที่ไวต่อเหล็ก
2) ในกรณีที่ความเข้มข้นของเหล็กในใบข้าวเท่ากัน ข้าวพันธุ์ที่ทนต่อเหล็กมีอัตราการสังเคราะห์แสง
สูงกว่าพันธุ์ที่ไวต่อเหล็ก
ผลการทดลองข้างต้นสรุปได้ว่า ข้าวที่ทนต่อเหล็กสามารถเจริญเติบโตในดินที่มีเหล็กสูงได้ โดย
ใช้ 2 วิธี คือ
1) เลี่ยงการสะสมเหล็กที่ใบ (avoidance) คือ รากดูดเหล็กน้อย และเหล็กที่รากดูดได้เคลื่อนย้าย
ไปสะสมที่ใบน้อย
2) มีความทนต่อเหล็ก (tolerance) เนื่องจากมีกิจกรรมการสังเคราะห์แสงสูง แม้ว่าจะมีเหล็ก
ที่รากดูดได้มาสะสมในใบ หรือเหล็กที่มีมากกว่าปรกติในใบไม่ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสง
ผลการเปรียบเทียบความทนต่อเหล็กของข้าว 20 พันธุ์ โดยพิจารณาจากอาการสีทองสัมฤทธิ์
หรือสีทองแดง (bronzing) และระดับผลผลิตที่ได้เมื่อปลูกในดินที่มีเหล็กสูงระดับเป็นพิษ พบว่าข้าว
ให้ผลผลิตเมล็ดระหว่าง 10 ถึง 806 กิโลกรัมต่อไร่ การให้ผลผลิตสูงกับความทนต่อเหล็กเป็นลักษณะ
ทางสรีระของข้าวที่ไปด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ข้าวบางพันธุ์ทนต่อเหล็กอย่างยิ่งเพราะไม่แสดงอาการเป็น
พิษใดๆ เลย แต่ให้ผลผลิตต�่า เนื่องจากมีดัชนีการเก็บเกี่ยว (harvest index) ต�่าและล้มง่ายเมื่อใส่ปุ๋ย
อัตราสูง ข้าวพันธุ์ดังกล่าวเป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีในด้านลักษณะความทนต่อเหล็ก (Sahrawat, 2013)
8. การจัดการดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว
ในดินเปรี้ยวจัดที่มีอะลูมินัมและเหล็กถึงระดับเป็นพิษ ควรด�าเนินการดังนี้
1) ใช้กระบวนการแกล้งดิน ตามแนวพระราชด�าริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และการ
ชะละลายดิน จะท�าให้ความเข้มข้นของอะลูมินัม เหล็ก ซัลเฟต เกลือที่ละลายน�้าได้ และสารที่เป็นพิษ
ลดลง เนื่องจากถูกชะละลายออกไปจากดิน (แสงดาว และ ธนภัทร์สกรณ์, 2557)
2) การปลูกข้าวที่ทนต่ออะลูมินัมและเหล็ก ใส่ปุ๋ยให้ธาตุที่มีโอกาสขาดแคลน เช่น สังกะสี
จะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว
3) ในดินที่มีแคลเซียมต�่า แก้ปัญหาพิษจากเหล็กด้วยการใส่ปูน เพื่อท�าให้ความเป็นกรดของดิน
ลดลง หรือพีเอชของดินเพิ่มขึ้น อะลูมินัมและเหล็กที่เป็นพิษลดลง ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในดินเพิ่มขึ้น
4) ใส่แมงกานิกออกไซด์อัตรา 8-16 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยลดการดูดเหล็กของรากข้าว และ
ช่วยปรับเรโช Fe/Mn ในเนื้อเยื่อพืช การใส่แมงกานีสไดออกไซด์ จะท�าให้สภาพรีดักชัน (reduction)
ในดินเกิดขึ้นช้า ซึ่งจะลดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมินัม
5) การใส่ปุ๋ย ดินเปรี้ยวจัดที่ขาดธาตุอาหาร ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน และความเป็นพิษของ
เหล็กและอะลูมินัมในดินไม่มาก การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและไนโตรเจนจะท�าให้ข้าวให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว 131