Page 132 -
P. 132

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    (1) ส�าหรับสังกะสีที่เคยถูกยึดไว้กับเฟอริกออกไซด์  และละลายออกมาได้อีกครั้งหนึ่ง  เมื่อ
          เหล็กถูกรีดิวซ์ในสภาพน�้าขัง แต่เนื่องจากมีเฟอรัสไอออนความเข้มข้นสูงในสารละลายดิน มีภาวะปฏิปักษ์

          ต่อการดูดสังกะสีไอออนของรากข้าว จึงท�าให้ข้าวขาดสังกะสีต่อไป
                    (2) เนื่องจากรากข้าวมีอ�านาจการออกซิไดส์  (oxidizing  power)  ดังนั้นเฟอรัสไอออนที่

          มาถึงผิวราก ส่วนหนึ่งจะถูกออกซิไดส์ได้เฟอริกออกไซด์แล้วตกตะกอนที่ผิวรากข้าว นานๆ เข้าจะกลาย
          เป็นแผ่นเหล็กบางๆ (iron plaque) บนผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นผิวราก (root epidermis)  หากปริมาณ

          แผ่นเหล็กมีมากกว่า 25 กรัมต่อกิโลกรัม (รากแห้ง) จะเป็นอุปสรรคต่อการแพร่ผ่านของสังกะสี เนื่องจาก
          สังกะสีบางส่วนจะถูกดึงไปท�าปฏิกิริยากลายเป็น ZnFe O  ซึ่งไม่ละลายน�้า ปรากฏการณ์คล้ายคลึงกันนี้
                                                       2 4
          เกิดกับแมงกานีสด้วย

                  5) ปัญหาอื่นๆ: ดินมีไฮโดรเจนซัลไฟด์และกรดอินทรีย์สูง จะเกิดผลดังนี้ ซัลไฟด์เป็นตัวยับยั้ง
          การหายใจ  จึงมีผลเชิงลบอย่างมากต่อเมแทบอลิซึมของรากข้าว  ส�าหรับกรดอินทรีย์บางอย่างท�าหน้าที่

          เป็นสารคีเลต  (chelating  agent)  หากท�าปฏิกิริยากับเหล็กแล้วได้คีเลตโมเลกุลเล็ก  จะเพิ่มการละลาย
          ของเหล็กให้สูงขึ้นไปอีก  แต่ถ้าได้สารประกอบเหล็กเชิงซ้อนที่มีโมเลกุลใหญ่  จะเกิดผลในทางตรงกันข้าม

          เพราะท�าให้การเคลื่อนย้ายของเหล็กเข้าหารากข้าวช้าลง
               7.3 กลไกการเกิดพิษ

                      กลไกที่ท�าให้ข้าวในดินเปรี้ยวจัดเป็นพิษจากเหล็กมีลักษณะซับซ้อน  เพราะมาจาก  2  สาเหตุ
          คือ เป็นพิษจากเหล็กโดยตรง และมีสาเหตุร่วมด้านอื่นด้วย
                  7.3.1 สาเหตุโดยตรงจากเหล็ก

                      เมื่อเฟอรัสไอออนในไซโทโซลของเซลล์ใบมีความเข้มข้นสูง  จะส่งเสริมให้ให้เกิดออกซิเจน
          ชนิดรีแอกทีฟ  (reactive  oxygen  species,  ROS)  อนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์  (superoxide  free

          radical)  อนุมูลไฮดรอกซิล  (hydroxyl  radical)  และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  โดยปฏิกิริยาเฟ็นตัน
          (Fenton  reaction)  และเหล็กเองก็เป็นส่วนหนึ่งของอนุมูลอิสระ  ซึ่งเรียกว่าอนุมูลอิสระรีแอกทีฟ
          เปอร์เฟอร์ริล  (reactive  perferryl-radicals)  อนุมูลอิสระเหล่านี้เป็นตัวการของพิษที่เกิดขึ้นจากเหล็ก

          (ยงยุทธ, 2558) เพราะมีผลกระทบ 2 ประการ คือ
                      1) อนุมูลอิสระท�าลายเยื่อต่างๆ ภายในเซลล์ โปรตีน และกรดนิวคลีอิก

                      2) เร่งให้มีการสะสมโพลีฟีนอลรูปออกซิไดส์  (oxidized  polyphenols)  ซึ่งเป็นพิษ
          ต่อเซลล์

                           ส�าหรับสีของใบที่เปลี่ยนแปลงไปก็เนื่องจากอนุมูลอิสระออกซิไดส์คลอโรฟิลล์ให้สลาย
          และลดปริมาณลงเรื่อยๆ  แล้วปรากฏสีของรงควัตถุอื่นขึ้นมาแทน  หรือเกิดสีน�้าตาลเนื่องจากการตายของ

          เนื้อเยื่อใบ (necrosis) เพราะพิษของอนุมูลอิสระ





          128 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137