Page 134 -
P. 134

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                  อาการผิดปรกติดังกล่าว  อาจพบได้ในทุกระยะการเติบโตของข้าว  ขึ้นอยู่กับว่าช่วงใดที่ต้นข้าว
          ได้รับเหล็กมากจนเป็นพิษ (Becker and Asch, 2005) ดังนี้

                  (1) ระยะเป็นต้นกล้า ท�าให้ต้นข้าวแกร็นและไม่แตกกอ
                  (2) ระยะแตกกอรวดเร็ว  จะไม่ค่อยเพิ่มความสูง  และสะสมน�้าหนักแห้งน้อย  ลดการสะสม

          น�้าหนักแห้งที่ส่วนเหนือดินมากกว่าราก
                  (3) ระยะแตกกอสูงสุดถึงระยะก�าเนิดช่อดอก  ท�าให้แขนงที่สร้างขึ้นมาไม่ค่อยพัฒนาให้เกิด
          ช่อดอก จึงมีจ�านวนรวงต่อกอน้อย ในพันธุ์ที่ไวต่อเหล็กอาจจะไม่มีช่อดอกเลย

                  (4)  ระยะตั้งท้องและดอกบาน ท�าให้เมล็ดลีบ ดอกบานช้าและการสุกแก่ของเมล็ดล่าช้า 10-25 วัน
                  ต้นข้าวที่เป็นพิษเนื่องจากเหล็กจนถึงระยะข้าวตั้งท้อง  รากจะหยุดการเจริญเติบโต  เนื้อเยื่อ

          แอเรงคิมา (arenchyma) ภายในรากจะเริ่มสลายตัวและรากค่อยๆ ตายไป เมื่อรากเสื่อมลง อ�านาจการ
          ออกซิไดส์  (oxidizing  power)  ของรากก็หมดไปด้วย  จึงมีตะกอนสีด�าของสารประกอบเหล็กมาเคลือบ

          ท�าให้เห็นรากเป็นสีด�า ระยะนี้รากจ�านวนมากตาย
               7.5 กลไกการปรับตัวของข้าวเมื่อมีเหล็กความเข้มข้นสูงในดิน
                  ข้าวมีกลไกที่ช่วยให้อยู่ได้ในสภาพที่ดินมีเหล็กความเข้มข้นสูง  3  ประการ  ข้าวพันธุ์ใดที่กลไก

          ทั้ง 3 ประการมีประสิทธิภาพ ก็เป็นพันธุ์ข้าวที่ทนต่อเหล็ก หากกลไกดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพก็เป็นพันธุ์
          ที่ไวต่อเหล็ก อาจสรุปกลไกความทนต่อเหล็กของข้าว ได้ดังนี้

                    กลไกที่ 1 เกี่ยวข้องกับการดูดเฟอรัสไอออนที่รากให้น้อยที่สุด มี 2 ขั้นตอน คือ
                  1) การออกซิไดส์เฟอรัสให้เป็นเฟอริกที่ผิวราก
                  2) โปรตีนขนส่งที่เยื่อหุ้มเซลล์ของรากจ�ากัดการดูดเฟอร์รัสไอออน

                  กลไกที่ 2 เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายเฟอรัสไอออนจากรากมายังเซลล์ใบให้น้อยที่สุด  มี  2
          ขั้นตอน คือ

                  1) เก็บไว้ในรากและล�าต้น
                  2) ถ้าเคลื่อนย้ายขึ้นมาก็เก็บไว้ในผนังเซลล์ของใบ

                      กลไกที่ 3 เกี่ยวข้องกับความทนต่อเหล็กของเซลล์และเนื้อเยื่อ
               7.6 ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ข้าว

                  เมื่อมีเหล็กในสารละลายดินสูง  รากข้าวดูดได้มาก  และเคลื่อนย้ายไปสะสมที่ใบปริมาณมาก
          จนเป็นพิษ  ซึ่งสังเกตได้จากความผิดปรกติของสีใบ  ข้าวมีการเจริญเติบโตน้อยลง  แตกกอน้อย  และให้
          ผลผลิตต�่า  การให้ปุ๋ยสังกะสีร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน  ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม  ช่วยให้ความเป็นพิษจาก

          เหล็กลดลงและได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น  ผลการเปรียบเทียบระหว่างข้าวพันธุ์ที่ทนต่อเหล็ก  (iron-tolerant
          rice cultivar) กับข้าวพันธุ์ที่ไวต่อเหล็ก (susceptible rice cultivar) พบข้อมูล 2 ประการ (Audebert

          and Sahrawat, 2000) คือ



          130 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139