Page 150 -
P. 150

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                     100









                     50









                       0
                         0            5            10           15           20           25           30
                               ภาพที่ 4.5 การจ�าแนกความทนเค็มของพืชเป็น 5 ระดับ
                                          ที่มา : Abrol et al. (1988)



                  โดยปรกติข้าวพันธุ์ทั่วไปค่อนข้างไว  (moderately  sensitive)  ต่อเกลือ  เนื่องจากค่าการน�า
          ไฟฟ้าของดิน ซึ่งเป็นขีดเริ่มเปลี่ยน (threshold EC ) คือ 4 เดซิซีเม็นต่อเมตร (dS/m) ดังนั้นเมื่อปลูกข้าว
                                                    e
          ในดินที่ค่าการน�าไฟฟ้าของดินสูงกว่า 4 dS/m ผลผลิตจะเริ่มลดลง กล่าวคือผลผลิตลดลง 10, 25 และ
          50 % เมื่อค่าการน�าไฟฟ้าของดิน 5.1, 5.9 และ 8.0 เดซิซีเม็นต่อเมตร ตามล�าดับ (Carter, 1975)



          6. ผลของความเค็มในดินต่อสัณฐานลักษณะของข้าว
                  ผลกระทบของสภาพความเค็มและสภาพโซดิก           ต่อความผิดปรกติด้านสัณฐานลักษณะ

          (morphological symptoms) ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตข้าว มีดังนี้
                6.1 ความผิดปรกติด้านสัณฐานลักษณะ
                     ความเค็มในดินท�าให้เกิดความผิดปรกติด้านสัณฐานลักษณะของข้าว 4 ประการ คือ

                     1) ความเค็มในดินท�าให้ปลายใบมีสีขาว ต่อมาปลายใบใหม้ ส่วนสภาพโซดิกท�าให้ใบมีสีน�้าตาล
          และตายในที่สุด

                     2) เติบโตช้า ล�าต้นแกร็น รากสั้น การเติบโตของข้าวในแปลงนาไม่สม�่าเสมอ บริเวณที่เค็มมาก
          ต้นข้าวจะตายเป็นหย่อม มีต้นข้าวเฉพาะบริเวณที่มีความเค็มต�่า
                     3) การแตกกอน้อย

                     4) ออกดอกช้าและดอกข้าวเป็นหมัน
               6.2 ผลกระทบต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต

                     ความเค็มในดินมีผลกระทบต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 4 ประการ คือ



          146 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155