Page 152 -
P. 152
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8. กลไกความทนเค็มหรือทนเกลือ (salt tolerance mechanisms) แบบต่างๆ ของพืชพวกไกลโคไฟต์
(glycophyte)
นักวิชาการจ�าแนกพืชตามสภาพความเค็มของดินอันเป็นถิ่นที่อยู่ตามปรกติได้เป็น 2 พวก คือ
1) พืชที่มีธรรมชาติอยู่ในดินเค็ม หรือ “พืชดินเค็ม” (halophyte) พืชพวกนี้มีความสามารถใน
การด�ารงชีวิตได้ดีในดินที่มีความเค็มสูง จึงมีเฉพาะพืชกลุ่มนี้เท่านั้นในสภาพดังกล่าว
2) พืชที่มีธรรมชาติอยู่ในดินไม่เค็ม หรือดินธรรมดา หรือไกลโคไฟต์ หรือ “พืชดินกร่อย”
(glycophyte) ส�าหรับพวกไกลโคไฟต์นั้น เมื่อพบกับสภาพความเค็มก็สามารถปรับตัวได้ระดับหนึ่ง อันเป็น
ความพยายามเพื่อให้อยู่ในสภาพดังกล่าวได้
ข้าวเป็นพืชในกลุ่มไกลโคไฟต์ กลไกที่พืชพวกไกลโคไฟต์ใช้เมื่อเผชิญกับสภาพความเค็มของดิน
มี 2 แบบ คือ (1) กลไกการเลี่ยงความเค็ม (avoidance mechanism) และ (2) กลไกความทนเค็มหรือ
ทนเกลือ (salt tolerance mechanisms) (Lazof and Bernstein, 1999; Amtmann and Sanders,
1999; Yeo and Flower. 1984) ดังนี้
8.1 กลไกการเลี่ยงความเค็ม
ในแต่ละช่วงของวัฏจักรชีวิต หากรากได้รับเกลืออันเป็นสาเหตุของความเค็มในดิน การเจริญเติบโต
ของข้าวจะได้รับความกระทบกระเทือน อย่างไรก็ตาม แต่ละช่วงชีวิต ข้าวจะไวต่อพิษของเกลือไม่เท่ากัน
จากการทดลองให้ข้าวได้รับเกลือในความเข้มข้นต่างๆ กันในแต่ละช่วงชีวิต พบข้อมูลดังนี้
1) ระยะงอก: ค่อนข้างทนต่อความเค็มได้ดี
2) ระยะกล้าอ่อน: ไวต่อพิษของเกลือมาก
3) ระยะที่ต้นกล้าโตขึ้นมีการแตกกอและเพิ่มความสูง: ทนต่อความเค็มได้ดีขึ้น
4) ระยะเจริญพันธุ์ตั้งแต่เริ่มเกิดช่อดอกอ่อน (IPP) จนกระทั่งดอกบาน : ไวต่อพิษของเกลือมาก
5) ระยะสุกแก่: ทนต่อความเค็มได้ดีขึ้น
จึงสรุปได้ว่ามี 2 ระยะการเติบโตที่ข้าวไวต่อพิษของเกลือมากที่สุด คือ ตอนเป็นกล้าอ่อนและ
ระยะออกดอก หากข้าวสามารถหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับสภาพความเค็มสูงใน 2 ช่วงดังกล่าว ก็ยังมีชีวิต
รอดได้ ดังนั้นชาวนาจึงใช้ความรู้เรื่องนี้ส�าหรับการท�านาด�า โดยใช้กล้าที่มีอายุ 25-30 วันในการปักด�า
เพราะได้ผลดีกว่าใช้กล้าอายุต�่ากว่า 20 วัน ในระยะตั้งท้องจนถึงออกดอกก็เช่นเดียวกัน หากฝนตกชุก
ท�าให้ความเค็มลดลงบ้างจะเป็นผลดีต่อข้าว อย่างไรก็ตาม ความทนเค็มของข้าวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในช่วง
สุกแก่ของเมล็ด กรณีดังกล่าวข้าวจะปรับตัวโดยสุกแก่เร็วกว่าปรกติ เพื่อร่นวงจรชีวิตให้สิ้นสุดเร็วขึ้น
8.2 กลไกความทนเค็มหรือทนเกลือ
กลไกความทนเค็มหรือทนเกลือ คือ กลไกที่เกี่ยวของกับสรีระและชีวเคมีที่ท�าให้ข้าวสามารถ
ทนต่อระดับความเข้มข้นของเกลือที่รากได้รับมากกว่าระดับปรกติ ข้าวพันธุ์ใดที่กลไกเหล่านี้ท�าหน้าที่ได้
ดี ข้าวพันธุ์นั้นจะทนเค็มมากกว่าพันธุ์อื่นที่ไม่มีกลไกดังกล่าว
148 ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว