Page 157 -
P. 157

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    3) กลไกนี้มีเฉพาะในพืชดินเค็มเท่านั้น คือ ขับเกลือออกจากใบทางต่อมเกลือ (salt gland)
                    4) การจัดเก็บไอออนพิษในระดับเซลล์ โดยกักเก็บไอออนพิษไว้ในแวคิวโอลหรือผนังเซลล์



            10. แนวทางการประเมินความทนเค็มของข้าว
                    ข้าวแต่ละพันธุ์มีความทนเค็มต่างกัน  จึงมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่างกันเมื่อน�ามาปลูก

            ในดินเค็ม  แนวทางการประเมินความทนเค็มของข้าว  ประกอบด้วยการพิจารณาจากตัวชี้วัดด้านสัณฐาน
            ลักษณะ  (morphological  parameters)  และตัวชี้วัดด้านสรีระ  (physiological  parameters)  เมื่อ

            ทดสอบโดยใช้ระดับความเค็มต่างกัน (Zeng and Shannon, 2000) ดังนี้
              10.1 ตัวชี้วัดความทนเค็มของข้าวด้านสัณฐานลักษณะ
                    ตัวชี้วัดด้านสัณฐานลักษณะที่ใช้ในการประมินความทนเค็มของข้าวได้แก่

                    1) การศึกษาความงอก (germination study) โดยเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาว
            ของเนื้อหุ้มยอดแรกเกิด (coleoptile) และ ความยาวรากแรกเกิด (radicle)

                    2) ความมีชีวิตรอด (survival) ของข้าว
                    3) คะแนนอาการพิษ (injury score)
                    4) การแสดงออกทั่วไป เช่น อาการใบไหม้ สภาพต้น และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ

                    5) ยังมีตัวชี้วัดอื่นๆ ที่นักวิจัยน�ามาใช้ในการประเมิน
                 10.2 ตัวชี้วัดความทนเค็มของข้าวด้านสรีระ

                    ตัวชี้วัดด้านสรีระมี 3 อย่าง คือ
                    1) การดูดโซเดียมและโพแทสซียม  (Na  and  K  uptake)  ในด้านการดูดไอออนของรากจาก
            สารละลายดินนั้น  นอกจากรากข้าวที่ทนเค็มจะดูดโซเดียมไอออนน้อยแล้ว  ยังต้องดูดโพแทสเซียมได้ใน

            ระดับปรกติอีกด้วย
                    2) การดูดโพแทสเซียมและการรักษาอัตราส่วนระหว่างโซเดียมกับโพแทสเซียม  (Na/K  ratio)

            เพื่อไม่ให้ขาดแคลนโพแทสเซียมเมื่อใบมีอายุมากขึ้น  กล่าวคือโดยปรกติในใบอ่อนของข้าวจะมีความเข้มข้น
            ของโซเดียมต�่ากว่าโพแทสเซียม  อัตราส่วน  Na/K  จึงต�่า  แต่เมื่อใบมีอายุมากขึ้น  ความเข้มข้นของ
            โพแทสเซียมจะลดลง  จึงท�าให้อัตราส่วน  Na/K  สูงขึ้น  ดังนั้นขณะที่ข้าวอยู่ในดินเค็ม  เมื่อใบข้าวแก่

            อัตราส่วน  Na/K  จะสูงมากยิ่งขึ้น  จนอาจมีภาวะไม่สมดุลระหว่างธาตุทั้งสอง  ท�าให้ข้าวมีปัญหาขาด
            โพแทสเซียม

                    3) ความทนทานของเนื้อเยื่อ  (tissue  tolerance)  การวัดศักยภาพในการเป็นพิษระยะสั้น
            (ความเป็นพิษเฉียบพลัน)  ของสารต่อสิ่งมีชีวิตใช้ค่า  LD   เป็นเกณฑ์  LD  ย่อมาจาก  “Lethal  Dose”
                                                          50
            LD  คือ ปริมาณของสารที่สัตว์ทดลองรับทั้งหมดในครั้งเดียว และเป็นสาเหตุการตายของ 50 % (ครึ่งหนึ่ง)
               50
            ของกลุ่มของสัตว์ที่ใช้ในการทดสอบ  ส�าหรับความทนทานต่อโซเดียมในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อข้าวนั้น




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                       ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว  153
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162