Page 155 -
P. 155

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            ขนส่งที่เยื่อหุ้มแวคิวโอล  (tonoplast)  ดูดเข้าไปเก็บไว้ในแวคิวโอล  เพื่อไม่ให้โซเดียมมีโอกาสรบกวน
            การท�างานของเอนไซม์ต่างๆ ที่อยู่ในไซโทโซล (cytosol)

                      2) การสังเคราะห์สารเพื่อปกป้องออสโมซิส  (synthesis  of  osmoprotectants)  เมื่อ
            ความเค็มในดินสูงขึ้นท�าให้เกรเดียนต์ศักดิ์น�้า (water potential gradient) ระหว่างดินกับเซลล์รากลดลง
            ส่งผลให้เซลล์รากจึงดูดน�้าได้น้อยลง  รากพืชจะตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการปรับออสโมซิส

            (osmotic adjustment) โดยสังเคราะห์สารปกป้องออสโมซิส (osmoprotectants) ซึ่งเป็นตัวละลายที่
            เข้ากันได้กับการด�ารงชีวิตของพืช (compatible solute) เพราะถึงจะมีความเข้มข้นสูงก็ไม่เป็นอันตราย

            ต่อพืช เช่น สร้างน�้าตาลทรีฮาโลส (trehalose-ภาพที่ 4.6) แอลกอฮอล์ กรดอะมิโนโพรลีน และอะมีน
            ให้อยู่ในไซโทโซลของโพรโทพลาซึม ส่วนโซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนที่เซลล์ดูดได้แล้วก็เก็บไว้ใน
            แวคิวโอล  การเพิ่มความเข้มข้นของตัวละลายทั้งในไซโทโซลและแวคิวโอล  ท�าให้เกรเดียนต์ศักดิ์น�้า

            ระหว่างดินกับเซลล์พืชสูงขึ้นดังเดิม  เรียกกระบวนการนี้ว่าการปรับออสโมซิส  รากพืชจึงดูดน�้าได้ตาม
            ปรกติ  น�้าตาลทรีฮาโลสเกิดจากการจับตัวของกลูโคส  2  โมเลกุล  ด้วยพันธะแอลฟา-แอลฟากลูโคไซด์

            (α,α-1,1-glucoside  bond)  เป็นสารอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นในเซลล์ของข้าวอย่างรวดเร็ว  ตอบสนองต่อการ
            เพิ่มขึ้นของระดับความเค็มในดิน  และการเพิ่มขึ้นของทรีฮาโลสยังมีผลให้การสังเคราะห์แสงของข้าวสูงขึ้น
            และความเสียหายของเซลล์ใบอันเกิดจากภาวะออกซิเดชันเนื่องจากแสง  (photo-oxidative  damage)

            ลดลงด้วย (Bray, 1997; Bohnet et al., 1995: Garg et al., 2002)


                                                              OH

                                            O         O                  OH
                             HO

                                                           O
                                 HO                   O                  OH
                                                      H
                                            OH                      OH



                                      ภาพที่ 4.6  โครงสร้างโมเลกุลของทรีฮาโลส



                      3) การกระตุ้นระบบต่อต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant system) ในช่วงที่มีความเครียด
            จากเกลือ (salt stress) การเพิ่มขึ้นของระดับความเค็มในดิน ท�าให้พืชมีปริมาณของอนุมูลอิสระประเภท
            รีแอกทีฟออกซิเจน (reactive oxygen species, ROS) เช่น อนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide

            free  radical)  เพิ่มขึ้นจากความผิดพลาดของกระบวนการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนในการสังเคราะห์แสง
            ที่คลอโรพลาสต์  และการหายใจที่ไมโตคอนเดีย  แล้วยังมีผลจากการเปลี่ยนแปลงของอนุมูลอิสระ




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                       ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว  151
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160