Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หมายเหตุ :
1. การใช้พ่อพันธุ์แบรงกัส ยกระดับต้องท�าให้ถึงที่สุดอย่างน้อย 5 และหรือ 6 ชั่ว
2. ลูกตัวผู้เลี้ยงขุนได้ทุกตัว ยกเว้นในชั่วที่ 5 ขึ้นไป เก็บตัวผู้ลักษณะดีๆ ไว้ 1-2-3 ตัวไว้ขยายพันธุ์
ในฝูงต่อไป หรือจะผสมแบบที่เรียกว่า Continuous Out Crossing จากฝูงอื่นก็ได้ คือใช้
พ่อแบรงกัสตลอดไป
3. ข้อดีคือใช้พ่อแบรงกัสผสมได้ตลอด
ตัวอย่ำงที่ 4 กำรผสมพันธุ์เพื่อผลิตโคพื้นเมือง
โจทย์ ◆ ตลาดโคเนื้อ : ตลาดระดับกลาง เป็นตลาดเฉพาะ (Niche Market) ต้องการโคพื้นเมืองเนื้อนุ่ม
มีผลดีต่อสุขภาพ
ตอบโจทย์
1. แม่โค : ใช้แม่โคพื้นเมืองสายพันธุ์ต่างๆ คัดเลือกแม่โคเข้าผสมพันธุ์โดยพิจารณาจากโครงร่าง
ข้อมูลสมรรถภาพด้านต่างๆ และพิจารณาเปาหมายด้วยว่าต้องการได้ลูกโคที่มีคุณลักษณะอย่างไร
2. พ่อพันธุ์ : เลือกใช้วิธีการผสมพันธุ์ว่าจะใช้การผสมเทียม หรือผสมจริง (พ่อพันธุ์) ถ้าผสมพันธุ์
โดยใช้พ่อพันธุ์จะจัดการผสมพันธุ์ในกลุ่มแบบไหน คัดเลือกพ่อพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะอย่างไร
ถ้าใช้วิธีผสมเทียมต้องจัดระบบการผสมเทียม
ให้มีประสิทธิภาพ คัดเลือกใช้น�้าเชื่อจากพ่อโค
ที่มีคุณลักษณะตามเปาหมายการผลิตลูกโค
3. ระบบการผสมพันธุ์ : จัดการผสมพันธุ์โดยวิธี
ผสมนอกสายพันธุ์ (Out Breeding) ระหว่าง
โคพื้นเมืองสายพันธุ์ต่างๆ (โคขาวล�าพูน พื้นเมือง
อีสาน โคลาน พื้นเมืองภาคใต้) เพื่อผลิตลูกโค
พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะดีเด่นจากผลของ
Heterosis เข้าสู่ระบบการเลี้ยงขุนผลิตเนื้อ
แม่โคฐานใช้แม่โคพื้นเมืองที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาค
พ่อโคใช้จากสายพันธุ์เดียวกันหรือจากสายพันธุ์อื่น
สามารถจัดแผนผสมพันธุ์ได้หลากหลาย โดยใช้
ข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยประกอบการพิจารณา
ว่าจะใช้แบบใด
กรณีตัวอย่าง : กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพื้นเมือง
อีสาน มีเปาหมายการผลิตโคเนื้อพื้นเมืองเนื้อนุ่ม
ปลอดภัยมี CLA (Conjugated Linoleic Acid) สูง
สู่ตลาดระดับกลาง เป็นตลาดเฉพาะ (Niche Market)
มีแผนผสมพันธุ์แบบไขว้ระหว่างพ่อโคพื้นเมือง
อีสาน และพ่อโคพื้นเมืองภาคใต้
ภาพที่ 20 ตัวอย่างการใช้พ่อโคพื้นเมือง 2 สายพันธุ์ผสมหมุนเวียน
56 คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่
Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition