Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               ข้อสังเกต
                       1.  แม่โคเริ่มต้นอาจเป็นพันธุ์บราห์มัน หรือลูกผสมบราห์มันก็ได้

                       2.  แม่รุ่น F2 ที่มีเลือดโคยุโรป (แองกัส) 75% ผู้เลี้ยงต้องพิถีพิถันในการจัดการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้น
               โคยุโรปแต่ละสายพันธุ์ก็มีความสามารถแตกต่างกันในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเรา
               เป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่จะต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้เกษตรกร ส�าหรับแม่รุ่น F1 (50%)

               มีข้อมูลยืนยันอยู่แล้วว่าสามารถปรับตัวได้ดีในเขตร้อน ถ้าเป็นตลาดระดับกลางต้องการเนื้อแดง เนื้อนุ่ม
               ไม่จ�ากัดระดับสายเลือดโคยุโรป การผสมแบบ Criss Crossing อาจเริ่มต้นจากแม่รุ่น F1 (50%) เพราะไม่ต้อง

               กังวลเรื่องการปรับตัว แนวทางปฏิบัติไม่มีกฎตายตัวจะเลือกใช้วิธีใดต้องมีค�าตอบ ลดความเสี่ยงของเกษตรกร
               จากการเลือกใช้พันธุ์ วิธีการผสมพันธุ์ให้น้อยที่สุด
                       3.   ในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาจะใช้แม่โคยุโรปเช่น แองกัส เป็นฐานการผลิตโคเนื้อเชิงการค้า

               โดยน�าพ่อโคบราห์มันไปผสมกับแม่แองกัสจนได้รุ่นลูก F2 ที่มีเลือดบราห์มัน 75% แล้วจึงใช้พ่อแองกัส และ
               พ่อบราห์มันผสมสลับกันแบบ Criss Crossing เช่นเดียวกับผังผสมพันธุ์นี้ แต่ต่างกันเฉพาะฐานพ่อ-แม่เริ่มต้น
               เท่านั้น แต่ต้องอย่าลืมว่าโดยพื้นฐานคุณลักษณะโคบราห์มันสามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด

               ที่อุณหภูมิ  40–45ºC  ก็ทนได้  และหนาวจัด
               ที่อุณหภูมิ 0–13ºC ก็ทนได้ ดังนั้นโคลูกผสมที่มี
               เลือดบราห์มัน 75% จึงสามารถปรับตัวได้ดีในเขตหนาว

               ของสหรัฐอเมริกา
                       หรืออาจจะใช้การผสมพันธุ์แบบยกระดับพันธุ์

               (Up-Grading) โดยใช้โคพันธุ์สังเคราะห์ที่สร้างขึ้นมา
               ให้เหมาะสมกับเขตร้อนที่มีเลือดโคยุโรปอยู่ระหว่าง
               50-62.5% เช่น โคพันธุ์แบรงกัส (แองกัส 62.5%

               บราห์มัน 37.5%) ซิมบราห์ (ซิมเมนทอล 62.5%
               บราห์มัน 37.5%) ชาร์เบรย์ (ชาร์โรเลส์ 62.5%

               บราห์มัน 37.5%) บีฟมาสเตอร์(ชอร์ตฮอร์น 25%
               เฮียร์ฟอร์ด 25% บราห์มัน 50%) โคพันธุ์สังเคราะห์
               ดังกล่าวได้รับการพัฒนาพันธุ์มาเป็นเวลานานแล้ว

               ในทางปฏิบัติให้ถือว่าเป็นโคพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่ง (ไม่ต้อง
               ใส่ใจในระดับสายเลือดโคที่น�ามาสร้างพันธุ์)  มี
               ความเหมาะสมที่จะเลี้ยงในเขตร้อนสามารถน�ามาผสม

               ยกระดับพันธุ์ได้เรื่อยๆ การเลือกใช้โคพันธุ์ใดถ้าไม่มี
               ข้อมูลยืนยันชัดเจนก็ต้องท�าการศึกษาวิจัยก่อน ซึ่งเป็น
               หน้าที่ของนักวิจัยที่จะต้องเข้าไปด�าเนินการ






                                                      ภาพที่ 19 ตัวอย่างการผสมยกระดับพันธุ์โดยใช้โคพันธุ์แบรงกัส





                                                                           คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่  55
                                                                     Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62