Page 55 -
P. 55
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พ่อพันธุ์ : ใช้วิธีการผสมเทียม โดยเลือกใช้พันธุ์ที่อยู่ตามเงื่อนไขความต้องการของตลาด เช่น
พันธุ์ชาร์โรเลส์ ซิมเมนทอล แองกัส บลองดาคิแตน ฯลฯ การจะเลือกใช้พันธุ์ใดต้องตอบค�าถาม
ให้ได้ว่าท�าใมเลือกใช้โคพันธุ์นี้ เพราะบางตลาดก�าหนดไว้กว้างๆ เพียงว่าต้องการโคที่มี
เลือดโคยุโรปไม่ต�่ากว่า 50%
3. ระบบการผสมพันธุ์ : การจัดระบบผสมพันธุ์เพื่อตอบโจทย์นี้ต้องพิจารณาให้ดี เนื่องจากถ้าผสม
ให้ได้ลูกโคที่มีสายเลือดโคยุโรปสูงเกินไป จะเกิดปัญหาด้านการปรับตัว ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ในทางทฤษฎี โคลูกผสมยุโรปที่สามารถปรับตัวได้ดีในเขตร้อน ควรมีสายเลือดโคยุโรปอยู่ระหว่าง
33-67 % ในทางปฏิบัติระดับสายเลือด 75% ก็สามารถเลี้ยงได้แต่ก็ต้องมีการปรับปรุงวิธีการจัดการ
เลี้ยงดูเพิ่มขึ้น การผสมพันธุ์โดยวิธียกระดับพันธุ์ที่เรียกว่า Grading Up หรือ Up Grading
ในรุ่นชั่วที่ 1 ได้สายเลือดโคยุโรป 50% รุ่นชั่วที่ 2 ได้สายเลือดโคยุโรป 75% ถ้าผสมโครุ่นชั่วที่ 2
ต่อด้วยโคยุโรป (100%) ลูกในรุ่นชั่วที่ 3 จะมีเลือดโคยุโรปสูงถึง 87.5% ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะเลี้ยง
ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเรา แล้วจะท�าอย่างไร ถ้าจะผสมโคในรุ่นชั่วที่ 2 ด้วยโคบราห์มัน
(100%) ลูกในรุ่นชั่วที่ 3 จะมีเลือดโคยุโรปแค่ 37.5 % ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดระดับสูง
แล้วจะท�าอย่างไร แนวทางแก้ไขคือ ต้องใช้โคพันธุ์สังเคราะห์ (Synthetic Breed) เช่น พันธุ์ชาร์เบรย์
แบรงกัส ซิมบราห์ หรือโคพันธุ์ตาก (มีสายเลือดโคยุโรป 62.5% โคบราห์มัน 37.5%) ผสมกับโค
ในรุ่นชั่วที่ 2 ลูกในรุ่นชั่วที่ 3 จะมีเลือดโคยุโรป 68.75% ตรงกับความต้องการของตลาดที่ต้องการ
โคที่มีเลือดโคยุโรปไม่ต�่ากว่า 50% ดังนั้นการผลิตโคเนื้อพันธุ์สังเคราะห์เพื่อสร้างพ่อพันธุ์ส�าหรับ
ใช้ผสมพันธุ์ในระบบการผลิตโคเนื้อเชิงการค้าจึงยังมีความจ�าเป็น หรืออีกแนวทางหนึ่ง ก็โดย
การสั่งซื้อน�้าเชื้อโคพันธุ์สังเคราะห์ หรือโดยการน�าเข้าทั้งตัวสัตว์ (พ่อพันธุ์) หรือตัวอ่อนเพื่อ
การผลิตน�้าเชื้อใช้ในระบบการผลิต (ด�าเนินการทั้งโดยภาครัฐและภาคเอกชน)
ตัวอย่ำงที่ 3 กำรผสมพันธุ์เพื่อผลิตโคลูกผสมยุโรป
โจทย์ ◆ ตลาดโคเนื้อ : ตลาดระดับกลาง ต้องการโคลูกผสมยุโรป ไม่จ�ากัดระดับสายเลือด
(ต้องการขุนแล้วได้ เนื้อแดง เนื้อนุ่ม)
ตอบโจทย์
1. แม่โค : ใช้แม่โคพันธุ์ผสมบราห์มัน หรือโคลูกผสมอื่นๆ โดยตรวจสอบจากพันธุ์ประวัติ หรือถ้าไม่มี
พันธุ์ประวัติให้ประเมินระดับสายเลือดโดยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ (กรมปศุสัตว์) คัดเลือก
แม่โคเข้าผสมพันธุ์โดยพิจารณาจากโครงร่าง ข้อมูลสมรรถภาพด้านต่างๆ และพิจารณาเปาหมาย
ด้วยว่าต้องการได้ลูกโคที่มีคุณลักษณะอย่างไร (เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 1)
2. พ่อพันธุ์ : ใช้วิธีการผสมเทียม โดยเลือกใช้พันธุ์ที่อยู่ตามเงื่อนไขความต้องการของตลาด ทั้งโคยุโรป
เช่น พันธุ์ชาร์โรเลส์ ซิมเมนทอล แองกัส บลองดาคิแตนฯ และโคเขตร้อน เช่นพันธุ์บราห์มัน
3. ระบบการผสมพันธุ์ : การจัดระบบผสมพันธุ์เพื่อตอบโจทย์นี้ที่ต้องการโคที่ให้เนื้อแดงและนุ่ม
ไม่เน้นที่ไขมันแทรกเหมือนกลุ่มตลาดระดับบน และไม่ระบุสายพันธุ์และระดับสายเลือดจึง
เปิดโอกาสกว้างในการเลือกใช้สายพันธุ์โคเนื่องจากถ้าผสมให้ได้ลูกโคที่มีสายเลือดโคยุโรปสูงเกินไป
จะเกิดปัญหาด้านการปรับตัวไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ในทางทฤษฎีโคลูกผสมยุโรปที่สามารถ
ปรับตัวได้ดีในเขตร้อนควรมีสายเลือดโคยุโรปอยู่ระหว่าง 33-67% ในทางปฏิบัติระดับสายเลือด
75% ก็สามารถเลี้ยงได้แต่ก็ต้องมีการปรับปรุงวิธีการจัดการเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น การผสมพันธุ์เพื่อ
คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่ 53
Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition