Page 63 -
P. 63
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.4 กระบวนกำรจัดกำรผลิตโคเนื้อเชิงกำรค้ำ
กรณีตัวอย่ำง : จังหวัด ก.
1) หลักการและเหตุผล : จังหวัด ก. ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย มีประชากร
1.5 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 85% ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่ส�าคัญ ได้แก่ ข้าว
มันส�าปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ด้านปศุสัตว์มีเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ 25,000 ครัวเรือน มีจ�านวนโคเนื้อรวม
1.3 แสนตัว เกษตรกรได้ประสบปัญหาฝนแล้ง ราคาพืชผลตกต�่า เกิดภาระหนี้สินล้นตัว การเลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่
เป็นเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแบบไล่ต้อน ขาดองค์ความรู้และแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยง
มีความต้องการพัฒนาปรับปรุงการเลี้ยงโคเนื้อโดยการลดพื้นที่ท�านา ปลูกพืชไร่ มาปลูกหญ้าเลี้ยงโค
2) โจทย์ : จะส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัด ก. ให้มีความมั่นคงและยั่งยืนได้อย่างไร
โจทย์นี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ต้องย้อนกลับไปดูในเนื้อหาที่กล่าวมาแล้วในส่วนที่ 3 และ 4 โดยเฉพาะ
ในส่วนที่ 4 หัวข้อ 4.2 และ 4.3 ซึ่งได้ให้หลักการไว้กว้างๆ ต้องประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
ในสภาพแต่ละพื้นที่
3) ตอบโจทย์ : เจ้าภาพที่จะรับผิดชอบคงหนีไม่พ้นจังหวัด ก. ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวเรือใหญ่
บรรจุเข้าในยุทธศาสตร์จังหวัด ขับเคลื่อนผ่านระบบการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จของกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ (Single Command) มีปศุสัตว์จังหวัดเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ผ่านทางกลุ่มเกษตรกร
วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สมาคม ฯลฯ
4) จังหวัด ก. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการจากทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อท�าหน้าที่
ก�าหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า อ�านวยการควบคุมติดตาม ประเมินผล
ตลอดจนสนับสนุนให้ความช่วยเหลือการด�าเนินการด้านต่างๆ
5) คณะกรรมการฯด�าเนินการส�ารวจ วิเคราะห์ ประเมินศักยภาพพื้นที่ เกษตรกร ประชาการโคเนื้อ
ส�ารวจตลาด หาช่องทางการตลาด
6) คณะกรรมการฯ จัดท�าแผนยุทธศาสตร์โคเนื้อจังหวัด โดยระดมสมองในการจัดท�าแผนให้
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม ก�าหนดเปาประสงค์ เปาหมาย และวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนทั้งในระยะสั้น
(1-2 ปี) ระยะปานกลาง (3 ปี) และระยะยาว (5 ปี) ตัวชี้วัดผลส�าเร็จคืออะไรต้องมีความชัดเจน
7) แปลงยุทธศาสตร์โคเนื้อสู่การปฏิบัติ โดยการจัดท�าเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
8) จังหวัด ก.แต่งตั้งคณะท�างานฝ่ายต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์จากทั้งภาครัฐ เอกชน
และภาคเกษตรกร เพื่อท�าหน้าที่ ร่วมคิด ร่วมท�างานการพัฒนาการผลิตโคเนื้อของจังหวัด
9) จังหวัด ก.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยหลักที่จะขับเคลื่อนงานทั้งระบบ
ของจังหวัด เพื่อให้เป็นเอกภาพ ในรูปของ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สมาคม ฯลฯ หรือ ในรูปบริษัท
ประชารัฐโคเนื้อ ภายในจังหวัดจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มโซนย่อย อาจเป็นกลุ่มเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน ขึ้นกับ
ความเหมาะสมและสภาพในแต่ละพื้นที่
คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่ 61
Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition