Page 68 -
P. 68

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

        ส่วนที่
         5                 กำรพัฒนำเครือข่ำยควำมร่วมมือ





                           ด้ำนกำรผลิต และกำรตลำดโคเนื้อ







                    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ จากเดิมรูปแบบการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเป็น
            การรวมกลุ่มเฉพาะผู้ผลิตต้องได้รับการพัฒนาโดยสร้างเครือข่ายระหว่าง กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ตลาด และกลุ่ม
            ของผู้บริโภค เพื่อเชื่อมโยงกันสร้างเครือข่ายโคเนื้อครบวงจรที่สามารถผลิตเนื้อโคที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

            ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเกิดผลประโยชน์ร่วมกัน และมีการกระจายผลตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้ผลิต
                    รูปแบบการส่งเสริมการร่วมกลุ่ม และพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายในรูปกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

            หรือสหกรณ์ โดยเกษตรกรเป็นผู้บริหารเครือข่าย และก�าหนดรูปแบบการบริหาร (สหกรณ์ฯ หรือกลุ่มวิสาหกิจฯ)
            ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ก�าหนดตลาด และควบคุมคุณภาพการผลิตของตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง
            ในการด�าเนินธุรกิจ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้หรือแหล่งเงินทุนอย่างเหมาะสม โดยที่รัฐบาล และหน่วยงาน

            ด้านการส่งเสริมที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่สนับสนุนและก�ากับดูแลเท่านั้น
                    การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายในรูปกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
            หรือสหกรณ์ มีแนวทางด�าเนินการดังนี้

                    (1)  พัฒนาความรู้ ประสบการณ์ และความเข้าใจในการจัดการ บริหารตลาด การแข่งขันทางธุรกิจ
            ของผู้บริหาร และสมาชิกสหกรณ์ที่มีอยู่แล้วให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรในบริเวณ
            ใกล้เคียง ให้เกิดแรงกระตุ้นในการเข้ามารวมกลุ่มจากเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ไปสร้าง

            กลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นแต่ไม่มีประสิทธิภาพ
                    (2)  สร้างความเข้าใจในรูปแบบ บทบาท หน้าที่ และหลักการบริหารจัดการสหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

            และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดการหลงประเด็นในหลักการจัดการและบริหาร
                    (3)  สนับสนุนโอกาส การลงทุนของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ เพื่อให้เกิด
            ความสมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายตั้งแต่ระบบการผลิต ไปจนถึงผู้บริโภค และมีความพร้อมในการแข่งขัน

            ทางการค้ากับต่างประเทศ เช่น การพัฒนาโรงฆ่ามาตรฐาน คุณภาพการตัดแต่งซาก หรือแม้กระทั่งบรรจุภัณฑ์
            ต้องมีการน�านวัตกรรมด้านความรู้และเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

                    (4)  ส่งเสริมความน่าเชื่อถือทางธุรกิจให้กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ เพื่อให้
            สามารถเข้าถึงแหล่งทุนหรือสินเชื่อง่าย และสะดวกมากขึ้น


            กำรใช้ประโยชน์จำกเทคโนโลยีเพื่อสร้ำงโอกำสในกำรแข่งขันทำงกำรค้ำ

                    (1)  พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
            รวมถึงความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า

                    (2)  ส่งเสริมความรู้ในมาตรการทางภาษี และเงื่อนไขด้านคุณภาพของคู่แข่งทางการค้า
                    (3)  ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และค่านิยมของผู้บริโภค
                    (4)  การสร้างผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ และการค้าให้กับอุตสาหกรรมการผลิต

                    (5)  รณรงค์ให้มีการสนับสนุนด้านการค้า เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจังจากทุกฝ่าย


      66    คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่
            Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73