Page 65 -
P. 65

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                           การขึ้นทะเบียนโคของเกษตรกรสมาชิกโดยเฉพาะโคเพศเมียเป็นสิ่งส�าคัญที่จะต้องด�าเนินการ
               ในระยะเริ่มต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานการผลิตตามแผนการผลิตที่ก�าหนดไว้ ในการขึ้นทะเบียนสัตว์จะท�า

               เครื่องหมายประจ�าตัวโคแบบต่างๆ ได้ เช่น การสักเบอร์หู ติดเบอร์หู หรือโดยการฝังไมโครชิพ ขึ้นกับความเหมาะสม
               ตามสภาพของแต่ละแห่ง ในทางปฏิบัติจะต้องมีเครื่องหมายฟาร์ม หรือรหัสฟาร์มกลางของกลุ่ม/วิสาหกิจชุมชน/
               สหกรณ์ที่จะออกให้กับโคของสมาชิกที่มาขอขึ้นทะเบียน โดยกลุ่ม/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์ ท�าหน้าที่เป็น

               นายทะเบียนกลาง พร้อมนี้จะได้ท�าการประเมินสายพันธุ์ ระดับสายเลือดของโคแต่ละตัว ด�าเนินการโดยกลุ่ม
               หรือหน่วยหลักที่จะขับเคลื่อนงาน โดยมีกรมปศุสัตว์ และหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

               สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ สัตว์ทุกตัวที่ขึ้นทะเบียนไว้จะให้หมายเลขก�ากับเรียงตามล�าดับ เก็บรวบรวมไว้
               เป็นฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                           4)  ตรวจสอบโรคแท้งติดต่อ และโรควัณโรค

                           5)  จัดการด้านการผสมเทียมโดยใช้น�้าเชื้อโคแองกัส
                           6)  ฝกอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร
                           7)  บูรณาการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต โดยคณะท�างานฝ่ายต่างๆ ที่ทางจังหวัด ก. แต่งตั้ง

                           8)  เตรียมการคัดเลือกเกษตรกรเพื่อท�าหน้าที่เลี้ยงโครอขุน (กลุ่มที่ 2) โดยซื้อโคจากกลุ่มผลิตลูก
                           แผนผสมพันธุ์
                           เงื่อนไข : ตลาดเนื้อโคระดับสูง ต้องการโคขุนที่มีเลือดโคยุโรป (แองกัส) ไม่ต�่ากว่า 50%

                           ◆   ใช้พ่อแองกัส ผสมกับแม่ลูกผสมบราห์มัน ผลิตลูกรุ่นชั่วที่ 1 มีเลือดโคแองกัส 50% ลูกเพศผู้
               เข้าระบบการเลี้ยงขุน เพศเมียใช้เป็นโคแม่พันธุ์ (ขาย ขยายแม่พันธุ์ในฝูง)

                           ◆   ลูกเพศเมียจากรุ่นชั่วที่ 1 ผสมต่อด้วยพ่อแองกัส ผลิตลูกรุ่นชั่วที่ 2 มีเลือดโคแองกัส 75%
               ลูกเพศผู้เข้าระบบการเลี้ยงขุน เพศเมียใช้เป็นโคแม่พันธุ์ (ขาย ขยายแม่พันธุ์ในฝูง)
                           ◆   ลูกเพศเมียจากรุ่นชั่วที่ 2 จะผสมต่อด้วยพ่ออะไร ถ้าจะใช้พ่อแองกัสผสมต่อ ลูกที่ได้ในรุ่น

               ชั่วที่ 3 จะมีเลือดโคแองกัส 87.5% ซึ่งสูงเกินไปเลี้ยงยาก ปรับตัวไม่ดี ในทางปฏิบัติต้องไม่ให้เลือด
               โคแองกัสเกิน75% ถ้าผสมด้วยพ่อบราห์มันดึงเลือดกลับ จะได้เลือดโค แองกัส 37.5% ไม่ตรงกับความต้องการ

               ของตลาด (เลือดแองกัสไม่ต�่ากว่า 50%) ดังนั้นจึงต้องผสมด้วยพ่อโคพันธุ์สังเคราะห์คือพันธุ์ แบรงกัส ที่มีเลือด
               โคแองกัส 62.5% จะท�าให้ลูกที่ได้ในรุ่นชั่วที่ 3 จะมีเลือดโคแองกัส 68.75% (37.5+31.25) ตรงตามความต้องการ
               ของตลาด

                           ◆  ลูกรุ่นชั่วต่อๆ ไปก็ผสมกับพ่อแบรงกัสต่อไปเรื่อยๆ























                                                                           คู่มือปฏิบัติงาน การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเจ้าหน้าที่  63
                                                                     Commercial Beef Cattle Production Work Manual Official Edition
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70