Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
65
นโยบายการยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรควรมีตัวชี้วัดระหว่างต้นทุนประสิทธิภาพและ
การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จะใช้การประเมินความเต็มใจรับของเกษตรกรใน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินค่าสวัสดิการ ลักษณะการทําการเกษตร และลักษณะภูมิ
ประเทศ ซึ่งสามารถทําได้โดยการเชื่อมโยงมูลค่าต้นทุนในการดําเนินนโยบายกับรูปแบบเชิงพื้นที่ของ
แต่ละไร่นา โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่ายสําหรับเกษตรกรและไร่นาที่แตกต่างกัน การ
วิเคราะห์นี้จะช่วยกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่ไม่จําเป็นต้องใช้เงินทุนจํานวนมากในการดําเนินนโยบาย
ดังกล่าว นอกจากนั้นยังใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อช่วยในการศึกษาว่าพื้นที่ใดมีศักยภาพสูงที่จะนํามา
ซึ่งความมั่นคงทางการเกษตร ในการศึกษาพื้นที่ที่แตกต่างกันนั้นจําเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลการ
กําหนดมูลค่า (valuation data เช่น WTA estimates) กับข้อมูลพื้นที่ ทําได้โดยนําข้อมูลความพึงพอใจ
ของเกษตรกรซึ่งแสดงผ่านมูลค่าความเต็มใจรับมาทําเครื่องหมายแสดงพิกัดในแผนที่ด้วยโปรแกรม
GIS (ESRI® ArcMap™ 10.0) โดยแสดงข้อมูลมูลค่าร่วมกันระหว่าง พิกัดที่ดิน (coordinate) ข้อมูลการ
ใช้ที่ดิน (land cover) ลักษณะดิน (soil type) เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการศึกษาแนวโน้มที่จะ
เป็นไปได้ของความแตกต่างของความเต็มใจรับตามตําแหน่งไร่นาและประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน