Page 62 -
P. 62
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
62
ในขณะที่ แทน vector of the segment specific parameters และ α คือ scale factor ที่ถูกสมมุติ
ให้ค่าเท่ากับหนึ่ง ดังนั้นเกษตรกรแต่ละคนจะมีค่าความน่าจะเป็นในการเป็นสมาชิกกลุ่มเฉพาะ (Boxall
et al., 2002, Burton et al., 2009) โดยการแทนค่าสมการ 4 และสมการ 5 ในสมการที่ 3 ดังนั้นสมการ
ความน่าจะเป็นแสดงได้โดย:
exp� � exp( )
P′ = ∑ � � � � (สมการที่ 6)
=1
∑
exp( ) ∑ =1 exp( )
ทางเลือกของเกษตรกรแต่ละคนจะถูกพิจารณาเป็นอิสระจากทางเลือกของเกษตรกรคนอื่นๆ
เนื่องจากไม่มีการเรียนรู้ระหว่างเกษตรกร เกษตรจะตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างจากการให้คุณค่าต่อ
กิจกรรมการเกษตรต่างๆด้วยตนเอง (Greene, 2007) สําหรับการอธิบายความชอบที่แตกต่างกันจะใช้
แบบจําลองโลจิตพหุนาม(multinomial logit model) หรือแบบจําลองอื่น ในการศึกษาวิเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ลักษณะทางไร่นา และความน่าจะเป็นของการเข้า
เป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ รวมทั้งการประเมินคุณค่าของคุณลักษณะต่างๆในรูปของความเต็มใจรับ
(willingness to accept: WTA) โดยคํานวณจากค่าสัมประสิทธิ์ของคุณลักษณะจากแบบจําลอง
2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล (cost-effectiveness) และวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial analysis)
การเข้าใจถึงความนิยมของเกษตรกรสามารถนํามาใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดนโยบายที่
เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นการประเมินต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในระดับต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การกําหนด
โครงการหรือแผนงานทางการเกษตรเป็นไปได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การทําให้แผนงาน PES
ได้รับประโยชน์สูงสุดโดยใช้ต้นทุนตํ่าที่สุด การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลจะสามารถเสนอแนะได้
ว่าพื้นที่ลักษณะใดที่แผนงานนี้น่าจะประสบความสําเร็จโดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด