Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        64





                    บุคคลอาจจะพึงพอใจต่อนโยบายการเกษตรที่แตกต่างกัน นโยบายที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่


                    หนึ่งอาจจะไม่ประสบความสําเร็จในอีกพื้นที่หนึ่งก็อาจเป็นไปได้ เนื่องจากลักษณะและคุณภาพของ

                    สิ่งแวดล้อม  ลักษณะของไร่นาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และสิ่งเหล่านี้ก็มีบทบาทสําคัญในการ

                    กําหนดต้นทุนที่แตกต่างกันในการดําเนินนโยบายต่างๆ ดังนั้นการจําแนกความนิยมที่แตกต่างกันต่อ

                    แนวนโยบายต่างๆ การพิจารณาถึงการกระจายของความนิยมในเชิงพื้นที่และความเต็มใจที่จะมีส่วน

                    ร่วมในนโยบายการยกระดับเกษตรยั่งยืนหรือนโยบายชดเชยเพื่อรักษาการบริการของระบบนิเวศใน

                    ระดับต่างๆจึงมีความสําคัญต่อการวางแผนโครงการที่มีประสิทธิภาพ  การทราบมูลค่าการชดเชย

                    โดยประมาณและลักษณะที่แตกต่างกันในเชิงพื้นที่นั้นสามารถช่วยสร้างรูปแบบเชิงพื้นที่ของมูลค่าทาง

                    เศรษฐกิจและสามารถจําแนกพื้นที่ที่ก่อให้เกิดต้นทุนประสิทธิผลในการดําเนินนโยบายในแต่ละแบบ

                    ได้



                         การวิเคราะห์เชิงพื้นที่สามารถช่วยในการประเมินนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยการ

                    แลกเปลี่ยนมูลค่า (trade off) จากบริการที่หลากหลายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และ

                    ช่วยในการออกแบบโครงการจ่ายค่าบริการ (payment schemes) จากข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่ง

                    เป็นการทําความเข้าใจตัวกําหนดเชิงพื้นที่ เช่น ที่ตั้งของพื้นที่ทางการเกษตร ขนาดพื้นที่การเกษตร

                    ลักษณะของดินที่ใช้เพื่อการเกษตร และมูลค่าที่สัมพันธ์กับสังคม (van Berkel et al., 2014) ไม่ว่าจะเป็น

                    เกษตรกรเองหรือว่าผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการบริการนั้นๆ ความพึงพอใจของระบบนิเวศและระบบ


                    นิเวศบริการ เช่น การปรับปรุงคุณภาพนํ้า การจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร ซึ่งสามารถ

                    เชื่อมโยงกับลักษณะและการกระจายเชิงพื้นที่ งานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการศึกษา เช่น เรื่อง

                    รูปแบบเชิงพื้นที่ของความเต็มใจจ่ายสําหรับการปรับปรุงภูมิทัศน์หมู่บ้าน (Campbell et al., 2009)  ใน

                    การประมาณรูปแบบเชิงพื้นที่ของความเต็มใจในการทําหน้าที่บริการของระบบนิเวศในพื้นที่

                    การเกษตร (Broch et al., 2013) การประเมินความพึงพอใจที่แตกต่างกันสัมพันธ์กับการกระจายเชิง

                    พื้นที่ของการพัฒนานํ้าผ่านพื้นที่รับนํ้าของแม่นํ้า (Brouwer et al., 2010) ศึกษาผลกระทบที่อาจจะ

                    เกิดขึ้นได้ของการกําหนดราคาคาร์บอนบนความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                    (Abson et al., 2014)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69