Page 63 -
P. 63

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        63





                         การประเมินค่าสวัสดิการ (welfare estimates or compensating variation: CV) คือจํานวนเงินที่


                    คํานวณจากการเปลี่ยนแปลงอรรถประโยชน์จากนโยบายจากเดิมหรือนโยบายที่ใช้เป็นบรรทัดฐาน

                    (status quo) ไปเป็นนโยบายใหม่ที่เกษตรกรเลือก (Bockstael et al., 2007) การประเมินนี้จะเป็นการ

                    แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางการเงินที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย โดยการประเมินค่า

                    สวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล  โดยการประเมินค่าสวัสดิการ(Train,

                    2009) สามารถแสดงได้โดย







                                   (∑                   −                               )
                         ∆         =                                                                                                (สมการที่ 7)
                                         −                     





                         ∑βatt คือผลรวมของค่าสัมประสิทธิของทุกนโยบาย (the sum of the coefficients of all the
                    policy attributes)

                         βascBAU  คือค่าสัมประสิทธิของนโยบายบรรทัดฐาน ( the coefficient of the status quo)


                         βcomp คือค่าสัมประสิทธิของคุณลักษณะทางการเงิน  (the coefficient of

                    compensation/monetary attribute)





                         สําหรับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่จะเป็นการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


                    (Geographic Information System : GIS) อาทิ การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร ลักษณะพืชที่ปลูก

                    ในพื้นที่มาวิเคราะห์ร่วมกับ WTA ที่ได้จากแบบจําลองทางเลือก โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย (simple

                    regression)


                           เนื่องจากความพึงพอใจเป็นเรื่องส่วนบุคคลแต่ละคนอาจจะมีความนิยมชมชอบต่อสิ่งต่างๆ


                    เหมือนหรือแตกต่างกัน รวมทั้งความนิยมต่อนโยบายและแผนงานต่างๆด้วย การทราบความนิยมต่อ

                    นโยบายที่แตกต่างกันจะช่วยให้การดําเนินนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกษตรกรแต่ละ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68