Page 70 -
P. 70

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        70





                         ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามนั้นได้เลือกหมู่บ้านที่ต้องการเก็บข้อมูลจากความหลายหลายทาง


                    ภูมิศาสตร์ ลักษณะการทําการเกษตร และพื้นที่ชลประทาน โดยเลือกตําบลที่มีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่

                    ในเขตชลประทานเขื่อนกิ่วคอหมาคือ ตําบลปงดอน ตําบลแจ้ห่ม ตําบลบ้านสา และบางส่วนของตําบล

                    วิเชตรนคร(เกษตรอําเภอแจ้ห่ม 2559) สําหรับตําบลที่เหลือต้องอาศัยนํ้าจากแหล่งนํ้าธรรมชาติ การทํา

                    การเกษตรส่วนมากยังเป็นการเกษตรที่ใช้สารเคมีและมีการทําการเกษตรแบบพันธสัญญา มีเพียงบาง

                    หมู่บ้านที่เริ่มตระหนักถึงการทําเกษตรยั่งยืน อาทิ ตําบลบ้านสา บ้านสาสบหก และบ้านแป้นโป่งชัย

                    และตําบลแจ้ห่ม หมู่บ้านป่าแดด สําหรับ 14 หมู่บ้านที่เก็บข้อมูลในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย

                         ตําบลบ้านสาจํานวน 3 หมู่บ้าน:   หมู่บ้านแป้นโป่งชัย หมู่บ้านสาสบหก และหมู่บ้านสาแพะ

                         ตําบลวิเชตรนครจํานวน 2 หมู่บ้าน: หมู่บ้านทุ่งทองและบ้านใหม่ผ้าขาว

                         ตําบลแจ้ห่มจํานวน 2 หมู่บ้าน:         หมู่บ้านป่าแดดและหมู่บ้านเด่นหนองนาว
                         ตําบลปงดอนจํานวน 2 หมู่บ้าน:  หมู่บ้านไฮและหมู่บ้านแม่ตาใน

                         ตําบลแม่สุกจํานวน 2 หมู่บ้าน:   หมู่บ้านกิ่วและหมู่บ้านปางตุ้ม

                         ตําบลทุ่งผึ้งจํานวน 2 หมู่บ้าน:    หมู่บ้านแจ้คอนและหมู่บ้านทุ่งฮ้าง
                         ตําบลเมืองมายจํานวน 1 หมู่บ้าน:   หมู่บ้านไผ่งาม ซึ่งมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้




                    4.1 หมู่บ้านแป้นโป่ งชัย



                         บ้านแป้นโป่งชัยอยู่ใขเขตตําบลบ้านสา อําเภอแจ้ห่ม มีประชากรที่อาศัยอยู่จริงประมาณ 150

                    ครัวเรือนประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 80 โดยพืชที่นิยมปลูกคือ ถั่วพุ่ม ข้าวโพดหวาน

                    กะหลํ่า ผักเขียวปลี สลับกับการทํานาพื้นที่การเกษตรมีการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล โดยเกษตรกร

                    จะเลือกชนิดพืชที่จะปลูกจากราคาตลาด การเกษตรอาศัยนํ้าจากแหล่งนํ้าตามธรรมชาติเป็นหลักแม้ว่า

                    ในต้นปี  2558 พื้นที่การเกษตรจะได้รับประโยชน์จากการชลประทานเขื่อนกิ่วคอหมา แต่นํ้าจาก


                    ชลประทานกิ่วคอหมาก็สามารถใช้ได้เพียงปีเดียว หลังจากนั้นนํ้าก็ไม่เพียงพอสําหรับการทําการเกษตร

                    (ปลายปี 2558 มีปริมาณนํ้าในเขื่อนที่ใช้ได้ประมาณ 15-25% ) ทําให้ชาวบ้านต้องหันกลับไปอาศัยนํ้า

                    จากธรรมชาติเป็นหลัก โดยมีการทําฝายชะลอนํ้าในเขตพื้นที่สูง และมีการร่วมกันของครัวเรือน

                    เกษตรกรที่ใกล้เคียงกันขุดบ่อนํ้าตื้นและใช้เครื่องสูบนํ้าในการจัดการนํ้า โดยเฉพาะในฤดูแล้งเพื่อใช้

                    สําหรับการเกษตร ส่วนหนึ่งที่สามารถขุดบ่อนํ้าได้นั้นเนื่องจากพื้นที่การเกษตรส่วนมากเป็นกรรมสิทธิ์
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75