Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               เหล่านี้ท าให้เกษตรกรมีการปกปิดและปกปูองร่างกายระหว่างการฉีดพ่นสารเคมี โดยการสวมเสื้อแขนยาว มี

               การใช้ผ้าหรือหน้ากากปิดปากปิดจมูก และสวมแว่นตาเพื่อปกปูองตาจากสารเคมี แต่ยังพบว่าเกษตรกรส่วน
               ใหญ่ (ร้อยละ 52.48)  ไม่ทราบว่าสารเคมีจะท าให้เป็นหมันได้ อีกทั้งมีเกษตรกรส่วนหนึ่งมีความคิดเห็นว่า

               สารเคมีไม่สามารถท าให้เป็นหมันได้ (ร้อยละ 21.12) เนื่องจากความเป็นพิษในลักษณะนี้เกิดจากความเป็นพิษ

               เรื้อรัง ที่มีเกิดจากการสะสม และยังไม่แสดงผลของพิษออกมาในระยะสั้น (ส านักโรคจากการประกอบอาชีพ
               และสิ่งแวดล้อม, 2557) ท าให้เกษตรกรตระหนักและให้ความส าคัญของผลกระทบด้านนี้น้อย (ตารางที่ 5.10)


               ตารางที่ 5.10 ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกพืชผักที่ท าการศึกษาใน
                           จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี ปีการผลิต 2558/59


                                                                                          ค าตอบที่ถูกต้อง
                                               ข้อความ
                                                                                             (ร้อยละ)

               สารเคมีก าจัดศัตรูพืชอาจท าให้เกิดโรค                                          79.87

               สารเคมีก าจัดศัตรูพืชอาจท าให้เป็นหมันได้                                      26.40
               สารเคมีก าจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจและท าให้หายใจไม่สะดวก     89.11

               สารเคมีก าจัดศัตรูพืชสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังและท าให้เกิดโรคผิวหนังได้   88.78

               สารเคมีก าจัดศัตรูพืชสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายทางตาได้                           89.77
                                                 รวม                                          74.79



                       เกษตรกรที่มีการฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่ที่ฟาร์มพบว่า มีปัญหาทางสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นใน
               พื้นที่ เช่น ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ อากาศเป็นพิษ การปนเปื้อนในแหล่งน้ า เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับผลกระทบ

               จากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย โดยส านักควบคุมพืชและวัสดุทางการเกษตร (2556) พบว่า

               ปัญหาส าคัญประการหนึ่งของการใช้สารเคมีทางการเกษตรคือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการตกค้างของ
               สารเคมีอยู่ในสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการแพร่กระจายระหว่างการฉีดพ่น ส่งผลให้เกิดการสะสมอยู่ใน

               พื้นดิน แหล่งน้ า และบางส่วนจะระเหยอยู่ในอากาศ จนในที่สุดจะเกิดการสะสมของสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร
               ซึ่งจะท าให้สิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารได้รับผลกระทบ อีกทั้ง ยังท าลายสิ่งมีชีวิตและแมลงที่เป็นประโยชน์ที่ช่วย

               จัดการศัตรู เช่น ตัวห้ า ตัวเบียน หรือแมลงที่ผสมเกสร รวมทั้งยังส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อการย่อย
               สลายอินทรีวัตถุ เช่น ไส้เดือนดิน เป็นต้น โดยปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกษตรกรตัวอย่างพบมากที่สุด เมื่อมีการใช้

               สารเคมี คือ ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ ซึ่งเกษตรกรมีปัญหาดินเสื่อมคุณภาพเฉลี่ย 1.45 โดยเกษตรกรส่วนใหญ่

               พบปัญหานี้ในระดับมาก  รองลงมาคือ ปัญหาการระบาดของศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้นหรือศัตรูพืชมีการดื้อยามากขึ้น
               เฉลี่ย 1.35  ต่อมาคือปัญหาอากาศในพื้นที่และบริเวณโดยรอบเป็นพิษเฉลี่ย 1.15 และปัญหาพืชและสัตว์ใน

               พื้นที่มีจ านวนลดลง และแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ า ตัวเบียน มีจ านวนลดลงเฉลี่ย 1.11 โดยปัญหาสารเคมี

               ปนเปื้อนในแหล่งน้ า เป็นปัญหาที่เกษตรกรพบน้อยที่สุดเฉลี่ย 0.97 (ตารางที่ 5.11)






                                                           51
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71