Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 5.11 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่ฟาร์มของเกษตรกรตัวอย่างผู้
ปลูกพืชผักที่ท าการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี ปีการผลิต 2558/59
ความส าคัญของปัญหา
ปัญหาในพื้นที่ ค่าเฉลี่ย
มาก น้อย ไม่มี
ดินเสื่อมคุณภาพ 60.07 24.42 15.51 1.45
อากาศเป็นพิษ 43.89 26.73 29.37 1.15
สารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ า 36.96 22.77 40.26 0.97
พืช/สัตว์ มีจ านวนลดลง 42.90 24.75 32.34 1.11
แมลงที่มีประโยชน์/ตัวห้ า/ตัวเบียน มีจ านวนลดลง 42.57 25.41 32.01 1.11
พืชได้รับความเสียหาย 39.93 25.08 34.98 1.05
มีการะบาดของศัตรูพืชเพิ่มขึ้น 55.45 24.42 20.13 1.35
หมายเหตุ 0 เท่ากับ ไม่มีปัญหา, 1 เท่ากับ มีปัญหาน้อย และ 2 เท่ากับมีปัญหามาก
5.5 ผลผลิตและรายได้จากการปลูกพืชผักของเกษตรกรตัวอย่าง
เกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกพืชผักที่ท าการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี ปีการผลิต
2558/59 จ านวน 303 ครัวเรือน พบว่า มีการปลูกพืชผักทั้งหมด 33 ชนิด โดยเป็นการปลูกถั่วฝักยาวสูงที่สุด
รองลงมาคือกะเพรา และต่อมาคือ แตงกวา และเมื่อพิจารณาถึงพื้นที่ในการปลูกพืชผักแต่ละชนิดเฉลี่ย พบว่า
ข้าวโพด เป็นพืชผักที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูกสูงที่สุด โดยมีพื้นที่ในการเพาะปลูกเฉลี่ย 8 ไร่ อันดับต่อมาคือ
ตะไคร้ มีพื้นที่การเพาะปลูกเฉลี่ย 5.02 ไร่ และมะระมีพื้นที่ในการเพาะปลูก 4.75 ไร่
เมื่อพิจารณาถึงจ านวนวันเพาะปลูกต่อรอบการผลิตพบว่า ชะอม ดีปลี และสะเดา เป็นพืชผักทีมี
จ านวนวันนานที่สุด โดยมีระยะเวลาการผลิต 365 วัน เนื่องจากพืชผักเหล่านี้ เป็นพืชยืนต้นที่สามารถให้
ผลผลิตทั้งปี และยังมีราคาของผลผลิตสูง รองลงมา คือกระชายที่มีระยะเวลาในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
351.44 วัน ต่อมาคือ มะเขือม่วงมีระยะเวลาในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต 332.50 วัน และในส่วน
ของพืชที่มีระยะเวลาเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้นที่สุดคือ ตาลปัตรฤาษี (ผักก้านจอง) โดยมีระยะเวลาใน
การเพาะปลูก 21 วัน ต่อมา คือ ขมิ้นขาว 24 วัน และ ผักโขมสร้อย 30 วัน (ตารางที่ 5.12)
หากพิจารณาถึงผลผลิตเฉลี่ยของพืชแต่ละชนิดของเกษตรกรตัวอย่างในจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี
และราชบุรี พบว่า ข้าวโพดหวานเป็นพืชผักที่มีผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ย 8,810.71 กิโลกรัม/ไร่/
รอบการผลิต รองลงมาคือ มะเขือเทศสีดา มีผลผลิตเฉลี่ย 6,000 กิโลกรัม/ไร่/รอบการผลิต และมะเขือม่วง มี
ผลผลิตเฉลี่ย 4,920 กิโลกรัม/ไร่/รอบการผลิต แต่เมื่อพิจารณาถึงรายได้เฉลี่ยของพืชผักของเกษตรกรตัวอย่าง
พบว่า กระชาย เป็นพืชผักที่ท าให้เกษตรกรมีรายได้สูงที่สุด โดยมีรายได้เฉลี่ย 122,333.33 บาท/ไร่/รอบการ
ผลิต ขณะที่มีผลิตเฉลี่ย 4,822,22 กิโลกรัม/ไร่/รอบการผลิต ซึ่งจากการส ารวจภาคสนาม พบว่า เกษตรกรผู้
ปลูกกระชายสามารถเก็บผลผลิตได้สูงถึง 4-5 ตันต่อไร่ อีกทั้งราคารับซื้อกระชายมีราคาค่อนข้างสูง 12-13
52