Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                   ผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและครอบครัว  ระดับการใช้สารเคมีที่เหมาะสมจะเปลี่ยนไป และ

                   เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิสูงขึ้น
                          ในขณะที่ สังคมในภาพรวมพิจารณาระดับการใช้สารก าจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมของสังคม ณ

                   ระดับที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุทธิของสังคมสูงสุด ซึ่งจุดเหมาะสมของสังคมนี้จะแตกต่างจากจุด

                   เหมาะสมของเอกชน เนื่องจากการใช้สารก าจัดศัตรูพืชก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก เช่น สารเคมี
                   ปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ า สารเคมีปนเปื้อนในพืชผักและอาหาร ซึ่งผลกระทบภายนอกนี้ไม่อยู่ในการ

                   พิจารณาของเกษตรกรต้นทุนของสังคมจึงอยู่สูงกว่าต้นทุนของเอกชน
                          ดังนั้น เพื่อให้เกิดการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยน

                   พฤติกรรมของเกษตรกรให้มีการใช้สารเคมีให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม และพิจารณาการจัดการศัตรูพืช

                   ทางเลือกอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

                   2.2 แนวคิดทางทฤษฎีของแบบจ าลองทางเลือก

                          ในการศึกษาครั้งนี้ท าการวิเคราะห์ความเต็มใจจะจ่ายต่อคุณลักษณะด้านต่างๆ ของการ

                   จัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาศัยวิธีแบบจ าลองทางเลือก (Choice  Modeling) วิธี
                   แบบจ าลองทางเลือกเป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าของคุณลักษณะของสินค้า

                   หรือบริการ ที่ไม่มีราคาปรากฏในตลาดหรือไม่สามารถสังเกตราคาได้ในตลาด (Non-market

                   Valuation) ซึ่งเหมาะสมที่จะน าประยุกต์ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เนื่องจากคุณลักษณะด้านการจัดการศัต
                   รุพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่มีราคาปรากฏในตลาด

                   หรือไม่สามารถสังเกตราคาในตลาดได้ แนวคิดของวิธีการนี้อยู่บนพื้นฐานของ (1)  ทฤษฎีพฤติกรรม

                   ของผู้บริโภค Lancaster (Lancastrian Consumer Theory) (Adamowicz et al., 1998) ซึ่งสรุป
                   ได้ว่าผู้บริโภคเป็นบุคคลที่มีเหตุผล (Rationality)  การตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการชนิด

                   ต่างๆเป็นไปเพื่อให้ตนเองได้รับความพอใจสูงสุด (Utility Maximization) ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่

                   อย่างจ ากัดโดยที่อรรถประโยชน์ หรือความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อสินค้าหรือบริการได้มาจากความ
                   พึงพอใจในคุณลักษณะต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นสินค้าหรือบริการนั้นๆ (Lancaster,  1966)  และ

                   (2) ทฤษฎีความพึงพอใจอย่างสุ่ม (Random Utility Theory: RUT) โดยสรุปได้ว่า อรรถประโยชน์ที่
                   ผู้บริโภค  ได้รับ ประกอบไปด้วย 2  ส่วน คือ ส่วนที่ก าหนดได้ชัดเจน (Deterministic  หรือ

                   Systematic  Component) จากคุณลักษณะของ  สินค้าหรือบริการและส่วนที่นักวิจัยไม่สามารถ

                   อธิบายได้ (Random Component) (McFadden, 1974; Adamowicz et al., 1998; Hanley et
                   al., 2001; Champ et al., 2002) แสดงในรูปแบบสมการได้ดังนี้


                                                       (  )     ………………………………………………(1)










                                                            6
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26