Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการ
จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
คือ เวคเตอร์ของสัมประสิทธิ์คุณลักษณะด้านต่างๆ ของการจัดการศัตรูพืช
คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการผลิตและจัดการศัตรูพืชต่อหน่วยพื้นที่
คือ สัมประสิทธิ์ของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการผลิตและจัดการศัตรูพืชต่อหน่วยพื้นที่
2.3 การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ความเป็นมาของการจัดการศัตรูพืช
การจัดการศัตรูพืชในอดีตจัดว่าเป็นวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่าการจัดการ
ศัตรูพืชในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการใช้สารเคมีเป็นหลัก ความเป็นมาของการจัดการศัตรูพืช สรุปได้
ดังต่อไปนี้
ในอดีตการปูองกันผลิตผลทางการเกษตรให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช อาจท าโดยการจับ การไล่
การฆ่า การเผา หรือการท าลายให้สิ้นซาก มนุษย์เรียนรู้จากธรรมชาติ โดยพบว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน
ธรรมชาตินั้นมีการควบคุมกันเอง โดยมีความสัมพันธ์กันในห่วงโซ่อาหาร ตัวอย่างเช่น เมื่อ 324 ปี
ก่อนคริสตกาล ประเทศจีนมีการปล่อยมดแดง (Oecophylla smaragdina) บนต้นส้มเพื่อก าจัด
หนอนผีเสื้อและด้วง ต่อมาในปี ค.ศ. 1752 Linnaeus แนะน าให้ใช้แมลงก าจัดแมลงด้วยกันเอง ปี
ค.ศ. 1884 Krassilstschick พบวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อราเขียว (Metarrhizium spp.) และใช้สปอร์ใน
การก าจัดตัวอ่อนของด้วงงวงอ้อย (Cleonus punctiventris) (สมพร ใจรักพันธ์, 2553)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1889 มีรายงานประสบความส าเร็จในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ในมลรัฐ
แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการใช้ด้วงเต่าลายควบคุมเพลี้ยหอยในสวนส้ม การควบคุม
วัชพืชโดยชีววิธี นักวิจัยได้ศึกษาและทดลองสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ตัวอย่างเช่น การใช้ด้วงเต่า
(Dactylopius celonicus) ในการควบคุมการระบาดของต้นตะบองเพชรในประเทศอินเดีย
นอกจากนั้นในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้ด้วงปีกแข็ง (Chrsoline
quadringemina Suffrian) ควบคุม Klamath (วัชพืชชนิดหนึ่ง) โดยสามารถลดประชากรของวัชพืช
ได้ถึง 99% (สมพร ใจรักพันธ์, 2553) ส่วนการปูองกันและก าจัดแมลงโดยวิธีเขตกรรมโดยการใช้พันธุ์
พืชต้านทานต่อโรคและแมลง เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าและน ามาใช้อย่างจิงจัง เมื่อต้นศตวรรษที่ 19
ภายหลังที่ เมลเดล นักพันธุศาสตร์ ได้ค้นพบและตั้งกฎของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมขึ้นในปี ค.ศ.
1900 โดยมีการปรับปรุงพันธุ์พืชต้านทานโรคของธัญพืชก่อนเป็นครั้งแรก ต่อมาได้น ามาประยุกต์ใช้
กับพันธุ์ต้านทานแมลง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (สมพร ใจรักพันธ์, 2553) ในช่วงปี ค.ศ. 1900 เป็น
ต้นมา มีโครงการในเรื่องการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีหลายโครงการด้วยกันตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ.
1904 ได้มีการเริ่มการควบคุมผีเสื้อผลไม้โดยการน าตัวเบียน Iphialtes caudatus (Ratzeberg) จาก
ประเทศสเปนเข้ามาใช้ (วิวัฒน์ เสือสะอาด, 2546) การควบคุมศัตรูพืชโดยใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ
พวกแมลงห้ าและแมลงเบียน เป็นวิธีการหนึ่งที่ประยุกต์พฤติกรรมของธรรมชาติ โดยการศึกษาค้นคว้า
9