Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่1
บทน า
1.1 ที่มาและความส าคัญ/หลักการและเหตุผลของการวิจัย
ในอดีต การพัฒนาโลกมุ่งสู่เปูาหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium
Development Goals) แต่ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2558) องค์การสหประชาชาติ ได้เสนอเปูาหมายโลก
ฉบับใหม่ คือ เปูาหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดย
ต้องการให้บรรลุเปูาหมายภายใน ปี พ.ศ. 2573 จากเปูาหมายทั้งหมดจ านวน 17 เปูาหมาย หนึ่งใน
เปูาหมายดังกล่าว ข้อ 12 คือ การผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (Responsible production
and consumption) ในรายละเอียดเปูาหมายนี้ มีจุดมุ่งหมายสู่การผลิตภาคการเกษตรที่รับผิดชอบ
ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด (UNDP, 2015) ในประเทศไทย
ปัญหาการผลิตภาคการเกษตรที่เป็นปัญหาหลักเรื่องหนึ่ง คือ ปัญหาการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชใน
ภาคการผลิตทางการเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม โดยผลกระทบ
ภายนอกจากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชในภาคการเกษตรของไทย เกิดจากการใช้สารเคมีก าจัด
ศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องและมากเกินความจ าเป็น การกระท าดังกล่าวไม่สามารถน ามาตกลงกันได้โดย
อาศัยกลไกตลาด และไม่มีการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น มูลค่าความเสียหายจากการใช้สารเคมี
ก าจัดศัตรูพืช พบว่า มีมูลค่าสูงมากในระดับมหภาค (Pimentel et al., 1992; Jungbluth, 1996;
สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ, 2554; Praneetvatakul, et al, 2013) นอกจากนั้น การใช้
สารเคมีก าจัดศัตรูพืชในระดับฟาร์มยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบในระดับฟาร์มที่ชัดเจน คือ
ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ผลกระทบต่อสุขภาพผู้ผลิตและผู้บริโภค และมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องตามปริมาณสารเคมีที่ใช้ (Praneetvatakul, et al, 2013)
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากความล้มเหลวของระบบตลาดน าไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่
มีประสิทธิภาพมักเกิดจากการที่ต้นทุนของเอกชนมีมูลค่าน้อยกว่าต้นทุนของสังคม หรือผลประโยชน์
ของเอกชนมีมูลค่าน้อยกว่าผลประโยชน์ของสังคม (Anderson and Libecap, 2014) กรณีการ
จัดการศัตรูพืชของเกษตรกรในปัจจุบันทั่วโลก ที่มุ่งเน้นการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชเป็นหลัก เกิดขึ้น
เนื่องจากเกษตรกรมีต้นทุนในการจัดการศัตรูพืชที่ต่ ามาก และเกษตรกรไม่ค านึงถึงต้นทุนทางสังคมที่
เกิดขึ้นจากผลกระทบของสารเคมีก าจัดศัตรูพืชดังกล่าวต่อสิ่งแวดล้อมที่มีมูลค่าผลกระทบสูงมาก
(Waibel, 1994; Pretty, et al., 2000; Leach and Mumford, 2008; Praneetvatakul, et al,
2013) หรือการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการศัตรูพืชแบบชีววิธี เกษตรกร
มักไม่สนใจ เนื่องจากผลประโยชน์ที่เกิดกับเกษตรกรมีมูลค่าน้อยกว่าผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อ
สิ่งแวดล้อมจากการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เช่น ความไม่เสื่อมโทรมของ
ระบบนิเวศโดยรวม การมีคุณภาพน้ าและคุณภาพดินที่ดีขึ้น เป็นต้น
1