Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                   วิจัยศึกษาด้านทางเลือกเชิงนโยบายส าหรับการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

                   จึงมีความส าคัญ
                            ผักเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญอย่างหนึ่ง  ที่มีมูลค่าสูงในแต่ละปี  จากสถิติของส านักงาน

                   เศรษฐกิจการเกษตร  ปี  พ.ศ. 2557  พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่การท าสวนผักและไม้ดอกไม้ประดับ

                   รวม 1,397,770 ไร่ ซึ่งพื้นที่ที่มีการปลูกผักมากที่สุดจะอยู่ในภาคกลางจ านวน 506,538 ไร่ รองลงมา
                   คือภาคเหนือ 446,280 ไร่ ต่อมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 317,833 ไร่ และภาคใต้ 127,119 ไร่

                   และเมื่อพิจารณาจังหวัดที่มีการท าสวนผักและไม้ดอกไม้ประดับสูงที่สุดในภาคกลาง คือ จังหวัด
                   ราชบุรี 61,662 ไร่ แม้ว่าพื้นที่ปลูกผักจะมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่การเกษตรอื่น แต่พืชผักเป็น

                   พืชที่มีอายุสั้น คือ มีอายุประมาณ 45-60  วันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ส่งผลให้ผักเป็นพืช

                   เศรษฐกิจที่ท ารายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยพืชผักเป็นพืชที่สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี
                   แต่พืชผักเป็นพืชอายุสั้นที่มีความอ่อนแอ ไม่ทนต่อโรคและแมลง เกษตรกรผู้ปลูกผักจึงมักประสบกับ

                   ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรแดง ไรขาว แมลงหวี่ขาว และหนอนกัดกิน
                   ผล เกษตรกรส่วนใหญ่จึงใช้สารเคมีในการปูองกันและก าจัดศัตรูพืชจ านวนมาก เกษตรกรบางรายถือ

                   หลักฉีดสารเคมีปูองกันไว้ก่อน ทั้งที่ยังไม่มีลักษณะการเกิดของโรคหรือการเข้าท าลายของแมลง

                   ศัตรูพืช ท าให้มีสารเคมีตกค้างในพืชผักสูง ในปี พ.ศ. 2559 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีก าจัดศัตรูพืช
                   หรือ Thai-PAN ได้เปิดเผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักที่ประชาชนนิยมบริโภค เช่น กะหล่ าปลี แตงกวา

                   ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง เป็นต้น

                   ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 เพื่อวิเคราะห์หาสารเคมีก าจัดศัตรูพืชตกค้าง ผลการเฝูาระวังพบว่า
                   ในภาพรวมมีสารตกค้างเกินมาตรฐานนั้นสูงถึง 46.4% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่ตรวจ โดยใน

                   ผักที่พบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า มาตรฐาน  ได้แก่ พริกแดง 100%  ของตัวอย่าง กะเพราและ
                   ถั่วฝักยาว 66.7%  คะน้า 55.6%  ผักกาดขาวปลี 33.3%  ผักบุ้งจีน 22.2%  มะเขือเทศและแตงกวา

                   11.1% เป็นต้น (เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีก าจัดศัตรูพืช,  2559) พืชผักเหล่านี้เป็นพืชผักที่ครัวเรือน

                   น ามาบริโภคเป็นประจ า สารพิษตกค้างเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพและปนเปื้อนต่อ
                   สิ่งแวดล้อมอย่างสูง  ดังนั้น พืชผักจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความส าคัญต่อการวิจัย เพื่อน าเสนอ

                   ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายส าหรับการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยต่อไป

                   1.2  วัตถุประสงค์ของการวิจัย


                          วัตถุประสงค์โดยรวมของโครงการเพื่อน าเสนอทางเลือกในการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อ
                   สิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังต่อไปนี้

                          1) เพื่อสังเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายในการจัดการศัตรูพืชในต่างประเทศ
                          2) เพื่อประมวลสถานการณ์การจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรไทย

                          3) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกผัก







                                                            3
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23