Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการได้รับผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มมีผลต่อความสําเร็จของกลุ่ม แต่
               ความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของกลุ่มไม่มีผลต่อความสําเร็จของกลุ่ม


                      ปรีชา พาชื่นใจ และคณะ (2556) ประเมินผลโครงการสนับสนุนการเลี้ยงปลาในกระชังและบ่อดินในกิจกรรม
               เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังจังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2553 – 2554 พบว่าโครงการประสบความสําเร็จในการเพิ่มรายได้
               แก่เกษตรกรโดยเกษตรกรร้อยละ 89.2 มีรายได้มากกว่า 120,000 บาทเมื่อสิ้นสุดโครงการเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตใน
               ภาพรวมในระดับดีมากเฉลี่ย 78.76 คะแนนมีความพึงพอใจเฉลี่ยต่อโครงการเท่ากับ 4.72 คะแนนอยู่ในระดับมากการ
               ฝึกอบรมกิจกรรมการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังตรงตามความประสงค์ของเกษตรกรสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ

               ประชาชนในพื้นที่ผลการทดสอบการปฏิบัติการเลี้ยงปลาของเกษตรกรอยู่ในระดับดีมากแสดงว่าเกษตรกรได้เรียนรู้
               เทคนิคการปฏิบัติการเลี้ยงปลากะพงขาวเพิ่มขึ้นและประสงค์จะดําเนินการประกอบอาชีพเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง
               ต่อไปจํานวน 63 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 96.92อย่างไรก็ตามในด้านปริมาณปลาที่ได้รับจากการดําเนินโครงการตํ่ากว่า
               เป้าหมายกําหนดพบว่าสาเหตุหลักเกิดจาก 1) เกษตรกรต้องเพิ่มความตระหนักในเรื่องการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ 2)
               เกษตรกรนําผลผลิตไปบริโภคในครัวเรือนและ  3)  เกษตรกรนําอาหารปลาจากโครงการส่วนหนึ่งไปเลี้ยงปลาที่
               เกษตรกรซื้อมาเลี้ยงเพิ่มเติมดังนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเลี้ยงปลาจะต้องเพิ่มเทคนิคแนวทางการถ่ายทอเทคโนโลยีการ

               เลี้ยงและต้องพัฒนาและกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักที่จะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์เพื่อนําไปสู่ผลผลิตสัตว์นํ้าที่เพิ่มขึ้นและ
               รายได้ที่มากขึ้น

                      ส่วนใหญ่การประเมินแบบซิปป์จะใช้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายและนํามาจําแนกวิเคราะห์และมี
               การสัมภาษณ์เพื่อวัดระดับคะแนน การศึกษาครั้งนี้จะใช้การประเมินแบบซิปป์พิจารณาสภาวะทั่วไปของชุมชนและ

               องค์กรชุมชน สิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรชุมชน กระบวนการบริหารจัดการขององค์กรชุมชน และผลลัพธ์ของการ
               ดําเนินงาน โดยสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนํามาจําแนกประเมินวัดความสําเร็จโดยการอธิบายเชิงพรรณนา

                      4)  การมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กรชุมชนการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์กรชุมชนเป็นปัจจัยสําคัญ
               ปัจจัยหนึ่งของการจัดองค์กรที่ดี องค์กรชุมชนจะสามารถดําเนินงานได้ผลดีสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาชิกได้หาก

               สมาชิกมีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามพระราชดํารัสที่ว่า

                      “สหกรณ์แปลว่าการท างานร่วมกัน การท างานร่วมกันนี้ลึกซึ้งมาก เพราะจะต้องร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งใน
               ด้านงานการที่ท าด้วยร่างกาย ทั้งในด้านงานการที่ท าด้วยสมอง และการงานที่ท าด้วยใจ ทุกอย่างนี้าาดไม่ได้ ต้อง
               พร้อม” (พระราชทาน ณ ศาลาดุสิตาลัย 10 ก.ค. 2526)


                      ในการถอดบทเรียนจากชุมชนที่สามารถจัดองค์กรชุมชนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีส่วน
               ร่วม เรืองไร โตกฤษณะ และคณะ (2555)  ใช้หลักการของ Ostrom  (1999)  ศึกษากรณีของชุมชนในเขตเลเสบ้าน
               จังหวัดตรัง และ ชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด พบว่าการที่ชุมชนต้องพึ่งพิงทรัพยากรที่เสื่อมโทรมลงเป็นแรง
               ขับเคลื่อนความร่วมมือของชุมชนเพื่อความอยู่รอด หากคนในชุมชนเห็นประโยชน์ที่จะได้จากการให้ความร่วมมือจัด

               องค์กรชุมชน มีผู้นําองค์กรที่เข้มแข็งเป็นที่เชื่อถือของคนในชุมชน มีกติกาชุมชนที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทํา มี
               ข้อมูลที่เชื่อถือได้ จะช่วยส่งเสริมให้สามารถจัดองค์กรชุมชนได้ดีขึ้น

                       ในการศึกษาครั้งนี้ ประเด็นที่จะนํามาพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์กรชุมชนตาม
               แนวคิดข้างต้น มีดังต่อไปนี้


                          o  ผลผลิตของสมาชิก ผลผลิตที่ได้จากสมาชิกองค์กรชุมชน เป็นประเด็นหนึ่งที่ทําให้สมาชิกเข้ามามี
                              ส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร ทั้งในด้านการซื้อปัจจัยการผลิตและขายผลผลิตผ่านองค์กร ซึ่งทําให้



                                                           1-6
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43