Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               1.2 ทบทวนเอกสารเชิงสังเคราะห์

                      1.2.1 การจัดองค์กรชุมชนของผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าในประเทศไทย


                      สําหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าที่สําคัญของประเทศไทยพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีการจัดองค์กรชุมชนหลาย
               รูปแบบ ทั้งในรูปของกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง ชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง สมาคมผู้เลี้ยงกุ้ง ไปจนถึงการ
               รวมตัวของผู้ประกอบการในลักษณะสมาคมวิชาชีพ รวมตัวกันทั้งในระดับพื้นที่และในเชิง cluster  ในบางพื้นที่เช่นที่

               จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานีซึ่งสมาชิกมักจะมีผู้ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของฟาร์มกุ้งขนาดใหญ่
               ทําธุรกิจการค้าไปพร้อมๆกับการเพาะเลี้ยงกุ้ง ให้ความสําคัญแก่การแลกเปลี่ยนข่าวสารการตลาดและราคา การรวมตัว
               กันของนักธุรกิจกุ้งในจังหวัดนี้เป็นที่มาของการจัดตั้งสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยทั้งยังมีเครือข่ายคนไทยกุ้งไทยดูแล
               ข้อมูลการผลิตและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทํางานผลักดันให้มีการลงทุนในต่างประเทศโดยการให้
               ข้อมูลและช่วยประสานงาน ข้อมูลที่ใช้ถือเป็นความลับเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจกุ้ง นับได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มที่

               มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของประเทศไทย ความสําเร็จในการรวมกลุ่มลักษณะนี้เป็นผลมา
               จากการที่กุ้งเป็นสัตว์นํ้าที่ขายได้ราคาสูงคุ้มค่าที่ผู้ประกอบการจะสละเวลามาร่วมมือกัน และเนื่องจากสมาชิกให้
               ความสําคัญแก่การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลซึ่งจําเป็นต้องใช้ประกอบการวางแผนการผลิตและการค้าของแต่ละรายที่
               สามารถทําได้โดยอิสระไม่มีเงื่อนไขผูกมัด และไม่มีปัญหาเรื่องทุนดําเนินงานขององค์กร อย่างไรก็ตามสมาชิกกลุ่มยัง
               จํากัดอยู่ในวงของนักธุรกิจกุ้งเป็นสําคัญ


                      นอกจากการรวมกลุ่มของนักธุรกิจกุ้งยังมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในรูปของกลุ่มเกษตรกรทั้งที่จด
               ทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การจัดองค์กรชุมชนของผู้เลี้ยงกุ้งในลักษณะสหกรณ์ผู้เลี้ยง
               กุ้งมีปฏิบัติกันในหลายพื้นที่ เช่น สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มนํ้าท่าจีน จํากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มนํ้าท่าทอง จํากัด และ
               สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มนํ้าปากพนัง จํากัดและเคยมีสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจํานวนหนึ่งรวมกลุ่มกันจัดองค์กรชุมชนในลักษณะ
               เครือข่ายเป็นชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จํากัด สร้างเครือข่ายเพาะเลี้ยงกุ้งตามแนวทางการจัดการฟาร์ม

               ที่ดีโดยจัดการเรื่องการตลาดรวมทั้งการส่งออก มีโอกาสที่จะพัฒนาการเลี้ยงกุ้งที่ยั่งยืนให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ (เรือง
               ไร โตกฤษณะ และคณะ,2556)

                      การจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรในด้านประมงและด้านผู้เลี้ยงสัตว์นํ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่
               พบว่าจุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค และปัญหาต่างๆ ของการจัดองค์กรให้ประสบความสําเร็จแตกต่างกันไปขึ้นอยู่

               กับลักษณะของแต่ละองค์กรชุมชน

                      แสงเทียน อัจจิมางกูรและคณะ(2551)  รายงานไว้ว่าเหตุผลหลักของการที่สมาชิกเข้าร่วมองค์กรชุมชนใน

               รูปแบบสหกรณ์การเลี้ยงกุ้ง คือ การได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ต้องการความช่วยเหลือจากกลุ่มในด้าน เทคนิค
               การเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน และการได้รับการกู้ยืมเงิน

                      สําหรับการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดําโดยการให้หน่วยงานราชการจัดตั้ง ธงชัย นิติรัฐสุวรรณและ

               คณะ (2546) กล่าวไว้ว่า เกษตรกรได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ การเลี้ยงเป็นระบบมีการพัฒนาทําให้ดีขึ้น มีการ
               แลกเปลี่ยนความรู้และข่าวสาร มีความเป็นกลาง ลดความเสี่ยง เพิ่มอํานาจการต่อรอง อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มโดย
               ให้หน่วยงานราชการจัดตั้งนั้น มีความยุ่งยากมีความซับซ้อนของระบบรัฐบาล หากเกษตรกรร่วมกันจัดตั้งองค์กร จะทํา
               ให้มีอํานาจการต่อรองมากขึ้น มีระบบแนวทางการเลี้ยงกุ้งที่เหมือนกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็น

               ประโยชน์ในการเลี้ยงกุ้ง





                                                           1-2
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39