Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                      แสงเทียน อัจจิมางกูรและคณะ(2551) ได้สอบถามความคิดเห็นจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง
               เกี่ยวกับการดําเนินงานของสหกรณ์ว่าควรจะดําเนินงานอย่างไร พบว่า ปัจจัยสําคัญของการดําเนินงานสหกรณ์ควร
               เน้น ด้านการรับรู้ข่าวสารการประมง ข่าวสารในการเลี้ยงกุ้ง ความรู้ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม การมีปฏิสัมพันธ์

               ระหว่างสมาชิกและผู้นําควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ไม่ควรมีผลประโยชน์แอบแฝงควรเสริมสร้างความรู้สึกต่อการมีส่วนร่วมใน
               การเป็นเจ้าของสหกรณ์ รวมทั้งไม่เน้นผลกําไร

                      เมื่อได้ทบทวนงานวิจัยข้างต้นในด้านการจัดการเชิงชุมชน จะนําปัจจัยที่มีผลต่อการจัดองค์กรมาประยุกต์กับ
               การศึกษาในครั้งนี้ เช่น ในด้านประโยชน์ของการรวมกลุ่ม ปัจจัยที่ส่งเสริมให้กลุ่มเข้มแข็ง การสร้างความมีส่วนร่วม

               ของสมาชิก การพัฒนาระบบข่าวสารของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

                      การจัดองค์กรชุมชนทั้งในรูปของกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งที่ผ่านมามักจะเป็นไปเพื่อการกู้หรือ
               ขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐ ทัศนีย์ ลักขณาพิชนชัช (2551) พบว่าการดําเนินงานของสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งหกแห่งมีปัญหา
               การรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ การร่วมคิดร่วมทําโดยสมาชิกยังมีน้อย มีปัญหาในการปฏิบัติตาม

               ข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาการซื้อขายแบบมีข้อตกลงได้ พบปัญหาขาดทุนจากการ
               ดําเนินงาน อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งได้รวมตัวกันจัดตั้งเครือข่ายในรูปแบบชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง
               แห่งประเทศไทย จํากัด สามารถรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งขายให้โมเดิร์นเทรด ตลอดจนสามารถส่งออกผลผลิตไป
               ประเทศอื่นในภูมิภาครวมทั้งส่งออกกุ้งชีวภาพไปประเทศญี่ปุ่นได้ ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จํากัด ที่
               จัดตั้งขึ้นมีสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกห้าสหกรณ์ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งสามร้อยยอด-ปราณบุรี จํากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่ม
               นํ้าท่าทอง จํากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มนํ้าปากพนัง จํากัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มนํ้าจันทบุรี จํากัด ทั้งยังได้ขยายงาน

               ไปยังการเพาะเลี้ยงปลานิลโดยมีสหกรณ์การประมงปลานิลจิตรลดานครนายก จํากัด เป็นสมาชิก ชุมนุมฯยังมีเครือข่าย
               กับสหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าสองทะเล จํากัด สหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจังหวัดตรัง จํากัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งตราด
               ยั่งยืนจํากัด อย่างไรก็ตามเมื่อสมาชิกสหกรณ์ฯบางรายได้ถอนตัวออกจากชุมนุม สมาชิกที่เหลืออยู่มีไม่ถึงห้าราย ไม่
               สามารถดําเนินงานในรูปชุมนุมสหกรณ์ฯได้จึงต้องหยุดดําเนินงานในลักษณะชุมนุมสหกรณ์ไปในปี พ.ศ. 2557 แต่ยังมี

               ความร่วมมือกันอยู่บ้างมในรูปเครือข่ายสหกรณ์ในลักษณะที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล

                      สําหรับการเพาะเลี้ยงปลากะพงและปลากะรัง มีการรวมกันจัดองค์กรชุมชนไม่มากนัก ที่รวมกันมักจะทําในรูป
               ของกลุ่มเกษตรกรเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าทั้งสองชนิดนี้มักเป็นเกษตรกรรายย่อย เช่นเดียวกับการเพาะเลี้ยงหอย
               สามชนิดคือ หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยนางรม การรวมตัวของเกษตรกรมักจะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อรวบรวม

               ผลผลิตโดยผู้รวบรวมในพื้นที่และมีการรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเรียนขอค่าชดเชยจากรัฐเมื่อเกิดปัญหานํ้าท่วม-นํ้าเสียที่ทํา
               ความเสียหายให้แก่การเพาะเลี้ยง

                      เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดมีการรวมกลุ่มกันบ้างในหลายรูปแบบทั้งกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ตลอดจน
               วิสาหกิจชุมชนซึ่งมักจะริเริ่มโดยเกษตรกรที่ทําหน้าที่ทางการค้าและการแปรรูปกรมประมงมีแผนงานศึกษาตลาดปลา

               นิลและการสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลซึ่งดําเนินงานอยู่ในปัจจุบัน

                      1.2.2เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการจัดองค์กรชุมชน

                      เครื่องมือที่จะนํามาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาการ

               ผลิตการตลาดและราคา การวิเคราะห์ SWOT การใช้แบบจําลอง CIPP การจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
               และระบบนิเวศวิธีสําหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า (Ecosystem Approach to Aquaculture, EAA) นําเครื่องมือเหล่านี้มา
               ใช้ประกอบการระบุปัจจัยที่กําหนดความสําเร็จของการจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะลี้ยงสัตว์นํ้าในประเทศไทย




                                                           1-3
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40