Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สิ่งแวดล้อมทางกายภายที่มีผลต่ออุตสาหกรรม
กฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
สามารถนํา SWOT มาสร้างกลยุทธ์ที่นําไปพัฒนาองค์กร/ธุรกิจ ที่ได้วิเคราะห์ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งหมด 4
รูปแบบ
1)กลยุทธ์เชิงรุกพิจารณาจากจุดเด่น และโอกาส เพื่อดึงเอาจุดเด่นที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้
2)กลยุทธ์ป้องกัน พิจารณาจุดเด่นและอุปสรรค สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่
เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบ ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นที่มีสร้างโอกาสด้าน
อื่นๆแทน
3)กลยุทธ์แก้ไขพิจารณาจากจุดด้อยและโอกาส โดยนําโอกาสข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลาย
ประการ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ
4)กลยุทธ์ตั้งรับ พิจารณาจากจุดอ่อนและอุปสรรค เพื่อลดอุปสรรคและระวังจุดอ่อน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
3) การประเมินแบบซิปป์ หรือที่เรียกว่า CIPP Model คิดค้นโดย Stufflebeam (1971) เพื่อประเมินว่า
โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นการประเมินเพื่อให้รายละเอียดต่างๆ เพื่อช่วยในการ
ตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ และยังเป็นแบบจําลองที่ได้รับความสนใจจากนักประเมินผลเป็นอย่างมากในปัจจุบันคําว่า
CIPP เป็นคําย่อของคําว่า Context , Input , Process และ Product โดยรูปแบบของการประเมินมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
รวบรวมข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อการนําไปใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่เหมาะสมสิ่งที่ทําการประเมินภายใต้
แบบจําลองซิปป์ประกอบด้วยการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณา
หลักการและเหตุผลความจําเป็นที่ต้องดําเนินโครงการประเด็นปัญหาและความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ การ
ประเมินปัจจัยนําเข้า (Input Evaluation: I) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของความพอเพียงของ
ทรัพยากร อาทิเช่นจํานวนคนงบประมาณวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการของการดําเนินการโครงการ การ
ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P) เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของการดําเนินการที่จะใช้เป็น
ข้อมูลในการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงให้การดําเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้น
(Product Evaluation: P) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับจุดประสงค์ของโครงการรวมทั้งการ
พิจารณาในประเด็นของการยุบเลิกขยายหรือปรับเปลี่ยนโครงการ(อมรทิพย์ แท้เที่ยงธรรม, 2546)
มีการใช้การประเมินแบบซิปป์วิเคราะห์การดําเนินงานขององค์กรชุมชนหลายรูปแบบ เช่น หนึ่งผลิตภัณฑ์
หนึ่งตําบล (OTOP) วิสาหกิจชุมชน และธุรกิจขนาดขนาดย่อม ตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้แบบจําลอง CIPP เช่น การ
ประเมินผลการดําเนินงานของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจําปี 2555 (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย,2556) เพื่อระบุหมู่บ้านที่สามารถพัฒนาเป็นหมู่บ้านแม่ข่าย การศึกษาศักยภาพของ
เครือข่ายอินแปงในสามจังหวัดคือ กาฬสินธุ์ สกลนคร และอุดรธานี ในการสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน (ชนินทร์ วะสีนนท์ และคณะ,2555) การประเมินผลการดําเนินงานของวิสาหกิจชุมชนสายบัวในการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (สุมาลี สันติเวชพลวุฒิ และคณะ,2556)
ที่ผ่านมาพบว่าการประเมินผลการดําเนินงานจะมีทั้งการประเมินกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ กลุ่ม OTOP และ
โครงการต่างๆ ที่หลากหลายไม่เฉพาะด้านเกษตรเท่านั้น เช่น ชนิดา คุ้มภัย (2543) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จ
ของกลุ่มสหกรณ์สตรีในจังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยนําเข้าคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา การได้รับ
การฝึกอบรม ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีผลต่อความสําเร็จของกลุ่ม แต่ อายุ อาชีพ รายได้ และการเข้าเป็น
สมาชิกกลุ่มอื่นไม่มีผลต่อความสําเร็จของกลุ่ม ด้านกระบวนการ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม การติดต่อ
1-5