Page 41 -
P. 41

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                     3.  เสนอแนวทางการจัดองค์กรชุมชนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะของเกษตรกรในการพัฒนาการเลี้ยงปลานิล
                      ประเทศไทย


               1.4 ระเบียบวิธีวิจัย

                       1.4.1 ขอบเขตการศึกษา


                      กําหนดเลือกองค์กรชุมชนที่จะศึกษาสําหรับการเลี้ยงปลานิลไว้สององค์กร ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูป
               สหกรณ์ได้แก่ สหกรณ์ประมงพาน จํากัด ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลที่
               พัฒนามาจากการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นนิติบุคคล และ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด ซึ่งมุ่งจะ
               รวบรวมผลผลิตปลานิลส่งขายเทสโก้โลตัส ที่มีโอกาสทําสัญญาการค้ากัน


                      สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด เป็นการจัดองค์กรโดยเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิล มีการดําเนินงานสร้างเครือข่าย
               กับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันกรมประมงมีโครงการส่งเสริมเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร เข้าไป
               ดําเนินการในพื้นที่นี้ เป็นตัวอย่างการจัดองค์กรชุมชนที่มีการบริหารจัดการได้ดี สามารถเป็นตัวอย่างในการศึกษาการ
               จัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า


                      สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น ้า นครนายก จ ากัด พัฒนามาจากสหกรณ์ประมงปลานิลจิตรลดา จํากัด
               ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จํากัด  เมื่อชุมนุมฯต้องยกเลิกไป ประธาน
               คณะกรรมการดําเนินการสหกรณ์ฯ ได้เรียนรู้การดําเนินงานจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ฯ สามารถ
               พัฒนาการตลาดปลานิล และทําสัญญาขายผลผลิตให้แก่เทสโก้โลตัสได้ มีช่องทางในการพัฒนาสหกรณ์ฯ ทั้งยังได้รับ
               การส่งเสริมจากหน่วยราชการจังหวัดนครนายกให้พัฒนากิจการสหกรณ์ฯ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาขยายกิจกรรมของ

               สมาชิกพื้นที่ต่อไป ทั้งยังสนใจสร้างเครือข่ายกับสหกรณ์ในต่างพื้นที่อีกส่วนหนึ่ง

                       1.4.2 วิธีด าเนินการวิจัย

                       1) การเก็บข้อมูลหลังจากเลือกสหกรณ์ทั้งสองแห่ง คณะวิจัยลงพื้นที่ศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลรวมสามครั้งใน

               แต่ละพื้นที่

                       ครั้งแรกเป็นการส ารวจาั้นต้น เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดองค์กรของสหกรณ์ฯ สภาวะเศรษฐกิจและ
               สังคม และลักษณะกายภาพของชุมชนดําเนินการในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2557  รวบรวมข้อมูลจากการ

               ประเมินพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม โดยการสังเกตการณ์ในพื้นที่ และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานคณะกรรมการ
               ดําเนินการของสหกรณ์ฯ กรรมการดําเนินการฯ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตําบล เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากหน่วยงานที่
               เกี่ยวข้อง และผู้นําเกษตรกร มีการจัดประชุม Focus group เพื่อหารือกับผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ศึกษา

                       ครั้งที่สองเป็นการส ารวจเพื่อกรอกแบบสอบถาม หลังจากการสํารวจขั้นต้น คณะวิจัยออกแบบสอบถามเพื่อ

               สัมภาษณ์สมาชิกสหกรณ์ฯ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิก ความคิดเห็นของสมาชิกเกี่ยวกับความคาดหวังและ
               ความสามารถทั้งของสหกรณ์ฯ ผู้นํา และ ตัวสมาชิกเอง  ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิลทั้งรูปแบบ วิธีปฏิบัติ รวมทั้ง
               ต้นทุน-รายได้ การตลาด ตอดจน ปัญหาและอุปสรรคที่สมาชิกพบ

                       ในการสํารวจได้กําหนดขนาดตัวอย่างไว้ 30 รายต่อสหกรณ์หนึ่งแห่ง แต่สําหรับสมาชิกสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยง

               และแปรรูปสัตว์นํ้านครนายก จํากัด ซึ่งมีความหลากหลาย ได้ตัวอย่างสมาชิก 37  ราย ลงพื้นที่ในช่วงเดือนธันวาคม
               2557 – กุมภาพันธ์ 2558 ทั้งนี้เลือกสมาชิกที่จะสัมภาษณ์จากรายชื่อสมาชิกของสหกรณ์ฯ โดยได้รับความร่วมมือจาก


                                                           1-9
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46