Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของเกษตรกรด้วยการจัดองค์กรชุมชน โดยพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องดังจะกล่าว
ต่อไป
1) การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมรวมทั้งสภาวะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนจะช่วยให้
ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวการณ์พัฒนาองค์กรชุมชน ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนและการจัดองค์กรชุมชนที่ปฏิบัติอยู่
การศึกษาด้านการผลิตและการตลาดของชุมชนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้ามีการศึกษาไว้บ้างแล้ว เช่นงานของเรืองไร
โตกฤษณะและคณะ (2556) ซึ่งศึกษาต้นทุนการผลิตและการตลาดสัตว์นํ้าที่สําคัญสิบสองชนิดซึ่งได้จากการเพาะเลี้ยง
พบว่าส่วนมากเกษตรกรยังสามารถทํากําไรได้และต้นทุนหลักเป็นค่าอาหารสัตว์นํ้า ซึ่งผู้ค้าปัจจัยการผลิตมักจะเป็นผู้
กําหนดราคา ในด้านการขายผลผลิตเกษตรกรยังมีทางเลือกจํากัดในการกระจายผลผลิต นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่
ดําเนินการโดยสํานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เช่น เศรษฐกิจการผลิตและการตลาด
หอยแครง (สํานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร,2552) เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดกุ้งก้ามกราม(สํานักวิจัยเศรษฐกิจ
การเกษตร,2554) และ รูปแบบการผลิตกุ้งทะเลทางเลือกกรณีศึกษาสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มนํ้าบางปะกง (สํานักวิจัย
เศรษฐกิจการเกษตร,2555) มีข้อเสนอสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า
ในส่วนของการศึกษาโซ่อุปทาน วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์และคณะ (2549) ศึกษาการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมกุ้ง
ขาวของประเทศไทยและเสนอให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการซื้ออาหารกุ้งและพันธุ์กุ้งที่มีคุณภาพ
รวมทั้งเพื่อพัฒนาความสามารถทั้งในการเทคโนโลยีและตลาดของกลุ่มเกษตรกร
2) การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์การบริหารองค์การ ซึ่งสามารถนํามาใช้ได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน หรือกลุ่มการทํางานในด้านต่างๆ การวิเคราะห์จะพิจารณาถึง จุดเด่น (Strength)จุดด้อย (Weakness)
โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ของการบริหารองค์การนั้นๆการวิเคราะห์ SWOT เป็นแนวทางสําหรับ
การระบุจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค เพื่อพิจารณาใช้ในการสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
วิธีการของการวิเคราะห์ SWOT พัฒนามาจากธุรกิจและอุตสาหกรรม ในการศึกษาครั้งนี้ได้นํามาใช้ในการ
วิเคราะห์การทํางานขององค์กรชุมชน เครื่องมือนี้มีจุดเด่นในด้านของการนําไปใช้ได้อย่างง่ายกับทุกระดับของการ
ดําเนินงาน แบ่งองค์ประกอบของ SWOT ได้ทั้งหมดสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่าปัจจัยภายใน ที่มาจากทรัพยากรและ
ประสบการณ์ขององค์กรโดยตรง อันประกอบด้วย
ทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ พนักงาน อาสาสมัคร สมาชิกองค์กร กลุ่มประชากรเป้าหมาย เป็นต้น
ทรัพยากรทางกายภาพ ได้แก่ สถานที่ตั้ง สิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์ต่างๆ
ทรัพยากรการเงิน ได้แก่ ทุนสนับสนุนธุรกิจ แหล่งเงินทุนจากหน่วยงานต่างๆ และแหล่งของการได้มา
ของรายได้
กิจกรรมและกระบวนการดําเนินงาน ได้แก่ โครงการต่างๆ ในการดําเนินงานขององค์กร ระบบการ
ทํางานในองค์การ
ประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น การสร้างชื่อเสียงที่ผ่านมาขององค์การ การเรียนรู้ความสําเร็จ
สําหรับ ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือ โอกาสและอุปสรรค มาจากส่วนสิ่งแวดล้อมภายนอก ที่
อาจกระทบกับองค์กรได้ ได้แก่
แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมที่ศึกษา
แนวโน้มด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเป็นระดับประเทศ หรือระดับต่างประเทศ
แหล่งเงินทุนจากหน่วยงานภายนอก
สภาพประชากรศาสตร์ เช่น การเปลี่ยนแปลงอายุ เชื้อชาติ เพศ วัฒนธรรมต่างๆ ของพื้นที่นั้นๆ
1-4