Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 2
สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด
2.1 การพัฒนาสหกรณ์ประมงพาน จ ากัด
2.1.1 พัฒนาการของสหกรณ์ประมงพาน จ ากัด
การเลี้ยงปลานิลที่อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย ทํากันมานานประมาณสามสิบปี โดยเป็นอาชีพที่ทํารายได้ให้
คนในพื้นที่ได้ดีกว่าการทํานาข้าวซึ่งเป็นอาชีพหลักของอําเภอพานมาแต่เดิม อย่างไรก็ตามในปี 2540 มีปัญหาผลผลิต
ปลานิลในพื้นที่ล้นตลาด ผู้รับซื้อที่มีอยู่เข้ามาจับปลาไม่ทันกับที่ผู้เลี้ยงต้องการขาย ผู้เลี้ยงรายใหญ่ต้องออกไปหาตลาด
ที่จะขายปลาด้วยตนเอง ผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่จึงคิดที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อระบายผลผลิต และมีกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลที่
ต้องการรวมกันในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งเมื่อเริ่มต้นมีปัญหาอยู่บ้างในการขอจดทะเบียนและกระบวนการทําบัญชี แต่ก็ได้
ดําเนินงานมาโดยมุ่งหวังที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาชิกผู้เพาะเลี้ยงปลานิล รวมกลุ่มกันในนาม “สหกรณ์ประมง
พาน จํากัด” มีการเลือกตั้งกรรมการดําเนินงานโดยเป็นตัวแทนมาจากแต่ละตําบล
สหกรณ์ประมงพาน จํากัด จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์เมื่อ 2 มิถุนายน 2543 โดยมีสมาชิกเมื่อ
เริ่มต้น 116 ราย ทุนเรือนหุ้น 28,800 บาท ผู้ก่อตั้งเอื้อเฟื้อสถานที่ทําการ ในช่วงที่ก่อตั้งมีกลุ่มรับซื้อปลานิลที่สําคัญใน
พื้นที่อยู่สองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลาทอง และ กลุ่มในเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเรียกกันว่ากลุ่มซีพี
ในปี 2550 สํานักงานจังหวัดเชียงรายคัดเลือกให้ สหกรณ์ประมงพาน จํากัด เป็นสหกรณ์ต้นแบบ
ในปี 2554 เกิดปัญหาปลานิลล้นตลาดขึ้นอีกครั้ง สมาชิกสหกรณ์ฯขายปลาไม่ได้ ต้องเลี้ยงไว้จนปลามีขนาด
ใหญ่เกินขนาดที่ตลาดสดรับซื้อเพื่อขายผู้บริโภคทั่วๆไป ตลาดสดที่รับซื้อ ต้องการปลานิลขนาด 0.6 -0.7 กก./ตัว และ
ไม่รับซื้อปลาที่มีนํ้าหนักเกินกว่าหนึ่งกิโลกรัมต่อหนึ่งตัว คณะกรรมการดําเนินการสหกรณ์ฯ แก้ปัญหาโดยการติดต่อ
บริษัทโกรเบสท์ซึ่งค้าอาหารปลาและมีห้องเย็นรับซื้อปลา ให้เข้ามารับซื้อปลาขนาด 0.8 – 1.2 กก./ตัว เพื่อนําไปแล่
เนื้อแช่แข็งส่งตลาดสหภาพยุโรป การรับซื้อเช่นนี้ทําเฉพาะในช่วงที่ปลาล้นตลาด เนื่องจากในภาวะปกติราคาปลานิลที่
ตลาดผู้บริโภคในประเทศซื้อจะให้ราคาที่ดีกว่าที่ห้องเย็นรับซื้อ ผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่นี้จึงไม่สนใจจะขายปลาให้ห้อง
เย็น
ความสําเร็จของการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลในอําเภอพาน ส่งผลให้สามารถมีผลผลิตปลานิลจากพื้นที่
ออกสู่ตลาดได้มากถึงวันละ 25 – 30 ตัน ซึ่งจากการประมาณการโดยเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอําเภอพาน ประมาณราคาขาย
ไว้สูงกว่า 50 บาท/กก. ในปริมาณผลจับนี้สหกรณ์ประมงพาน จํากัด ให้ข้อมูลว่าการรับซื้อของสหกรณ์เฉลี่ยแล้วเป็น
ประมาณร้อยละสิบของปริมาณผลผลิตในพื้นที่ ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากและในช่วงเทศกาลที่มีนักท่องเที่ยว
มาก ปริมาณที่สหกรณ์ฯรับซื้ออาจสูงถึงวันละ 5 – 6 ตัน โดยเฉลี่ยปริมาณที่สหกรณ์ฯ รวบรวมจากสมาชิกเป็น
ประมาณวันละ 3 ตัน
ที่ทําการอําเภอพานรายงานไว้ว่าปัจจุบันมีกลุ่มการค้าปลานิลในอําเภอพานอยู่ 14 กลุ่มรวมทั้งสหกรณ์ประมง
พาน จํากัด ซึ่งมีจํานวนสมาชิกมากที่สุด และกลุ่มที่มีสมาชิกจํานวนหนึ่งร้อยรายขึ้นไปนอกจากสหกรณ์ประมงพาน
จํากัด มีอยู่อีกสามกลุ่ม ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์เชียงราย จํากัด กลุ่มปลาเมืองพาน และ ชมรมปลาเชียงราย
สหกรณ์ประมงพาน จํากัด ได้ดําเนินงานพัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มเหล่านี้รวม 8 กลุ่ม มีการประชุมพบปะ