Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศักยภาพทรัพยากรน้ําไทยในปจจุบันมีปริมาณน้ําทาธรรมชาติเกณฑเฉลี่ย 285,227 ลาน
ลูกบาศกเมตร มีน้ําทาที่นํามาใชแลว 102,139 ลานลูกบาศกเมตร ภายใตสถานการณปจจุบัน ยังมีน้ําที่ตอง
จัดหาเพิ่มเติม 49,610 ลานลูกบาศกเมตร ซึ่งแสดงถึงมีการขาดแคลนน้ําเกิดขึ้นแลว และมีการคาดการใชน้ํา
ในป พ.ศ. 2570 จะตองใชน้ําเพิ่มขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคและการทองเที่ยว รวมทั้งเพื่ออุตสาหกรรม
จํานวน 5,079 ลานลูกบาศกเมตร ซึ่งแสดงใหเห็นวาจะมีปญหาการขาดแคลนน้ําเกิดขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ในปจจุบันนี้ยังคงมีปญหาอุทกภัยและคุณภาพน้ําเกิดขึ้นและคาดวาจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต
สาเหตุที่แทจริงที่ทําใหเกิดปญหาทั้ง 10 ประการ ดังกลาวขางตน รวมทั้งการคัดคาน
นโยบายของรัฐนั้น มีที่มาแหงสาเหตุของปญหา 5 ประการ คือ (1) การเมืองที่ขาดเสถียรภาพและ
แรงผลักดันในการแกไขปญหาอยางจริงจัง (2) เงื่อนไขทางสังคมที่ขาดการมีสวนรวมของประชาชนจึงมีการ
ตอตานโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ําของรัฐ (3) การขาดแคลนงบประมาณที่จะดําเนินการพัฒนาทรัพยากรน้ํา
(4) มีสถาบันหรือหนวยงานที่เกี่ยวของกับทรัพยากรน้ําจํานวนมาก แตขาดการบูรณาการ และ (5) ขาดขอมูล
ทางวิชาการที่เปนที่ยอมรับของสังคมไปสูการพัฒนาทรัพยากรน้ําและการเตือนภัยพิบัติ โดยสาเหตุหลักแลว
ปญหาทั้ง 5 ประการนี้มาจาก “โครงสรางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําที่ไมเหมาะสมตอการแกปญหา”
คณะวิจัยจึงไดเสนอแนวทางการแกไขปญหาโดยใหมีโครงสรางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแบบ
“ประชารัฐ” โดยใชหลักการมีสวนรวมในการบริหารจัดการน้ําของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
และมีโครงสรางที่สําคัญคือ คณะกรรมการทรัพยากรน้ําแหงชาติ (กนช.) สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการ
ทรัพยากรน้ําแหงชาติ ศูนยขอมูลน้ําแหงชาติ คณะกรรมการลุมน้ํา และคณะอนุกรรมการลุมน้ําสาขา โดยมี
เงื่อนไขวาทั้งหลักการ และโครงสรางการบริหารจัดการดังกลาวนี้ปรากฎเปนบทบัญญัติในกฎหมายแมบท
ทรัพยากรน้ําแหงชาติ
ฉ