Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                        รายงานการวิจัย
                               รายงานการวิจัยโครงการนี้มี 5  เลมๆ แรกคือเอกสารหลักเปนการสรุปสาระสําคัญจาก

                 เอกสารประกอบเลมที่ 1-4 เนื้อหาในเลมที่ 1  และเลมที่ 2  เปนผลจากการทบทวนนโยบายน้ําตั้งแตสมัย
                 สุโขทัย พ.ศ. 1762 จนถึง พ.ศ. 2559 รวมทั้งทบทวนถึงเหตุการณที่เกี่ยวของกับนโยบายน้ํา โดยเรียงลําดับ
                 ตามเวลาเปน 14 ระยะ และจัดทําเปนบทตางๆ รวม 15 บท
                               เอกสารประกอบเลมที่ 3  พลวัตนโยบายน้ําไทยมี 1  บท คือบทที่ 16  เปนการวิเคราะหการ

                 เปลี่ยนแปลงของนโยบายและเปรียบเทียบถึงความสอดคลองของนโยบายน้ําที่กําหนดไวในแผนพัฒนา
                 เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ นโยบายจากการแถลงของคณะรัฐมนตรีตอรัฐสภา และนโยบายที่เปนมติ
                 คณะรัฐมนตรีและการดําเนินการ วามีการเปลี่ยนแปลง มีความสอดคลองและแตกตางกันอยางไรทั้งใน
                 ภาพรวมและมติเฉพาะเรื่อง เอกสารประกอบเลมที่ 4 ผลจากนโยบายน้ําไทยเปนการทบทวนและวิเคราะห

                 ผลจากนโยบายน้ําไทยในอดีตถึงปจจุบัน ซึ่งแบงออกเปน 3 บท ในบทที่ 17 การบริหารจัดการน้ําไทย
                 จะมี 5  เรื่องคือ (1)  องคกรบริหารจัดการทรัพยากรน้ําไทย (2)  กฎหมายที่เกี่ยวของกับการบริหารจัดการ
                 ทรัพยากรน้ําไทย (3)  ระบบขอมูลน้ําไทย (4)  ปญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําไทย และ (5)
                 ขอเสนอแนะในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําไทย บทที่ 18 นโยบายน้ําไทยที่มีการคัดคานเปนการทบทวน

                 และวิเคราะหรวม 4 กรณี คือ (1) การคัดคานการกอสรางเขื่อนและโครงการพัฒนาแหลงน้ํา (2) การคัดคาน
                 แผนแมบทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของรัฐบาลคณะที่ 60 (3) การคัดคานการเก็บคาน้ําชลประทาน
                 จากเกษตรกร และ (4) การคัดคานการตราพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา บทที่ 19 สถานการณทรัพยากรน้ํา

                 ในปจจุบัน จะเปนการสรุปถึงปญหาที่มีผลจากนโยบายน้ําในอดีตวายังมีปญหาใดอยูบาง โดยจะทบทวน
                 และวิเคราะหรวม 4 เรื่อง (1) ศักยภาพน้ําไทยในปจจุบัน (2) ผลการดําเนินการพัฒนาแหลงน้ํา (3) ความ
                 ตองการใชน้ํา และ (4) ปญหาทรัพยากรน้ําไทยและการบริหารจัดการในปจจุบัน

                        ผลการวิจัย

                               จากหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตรของไทยนั้น รัฐไทยไดกําหนดนโยบายน้ํามาอยาง
                 ตอเนื่องตั้งแตสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1762 จนถึงปจจุบัน (พ.ศ. 2559) ดวยความสําคัญที่วาน้ําเปน
                 ปจจัยที่สําคัญตอการดํารงชีวิตและมีผลตอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                        พลวัตนโยบายน้ําไทย
                               จากการทบทวนนโยบายน้ําไทยจากอดีตถึงปจจุบันพบวา นโยบายน้ําไทยเริ่มตนเพื่อ
                 การเกษตร และอุปโภคบริโภค และไดขยายไปสูการใชน้ําเพื่อกิจกรรมอื่นๆ ในเวลาตอมาตามการ
                 เปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้นโยบายน้ําที่กําหนดขึ้นในอดีตถึงปจจุบันนั้นสรุป

                 ไดวามีวัตถุประสงคหลักเพื่อแกไขปญหาทรัพยากรน้ํา 3 ประการ คือ (1) การขาดแคลนน้ําหรือภัยแลง (2)
                 อุทกภัย และ (3) คุณภาพน้ํา สาระสําคัญของนโยบายน้ําที่กําหนดขึ้นในอดีตถึงปจจุบัน จึงมีสาระสําคัญที่
                 ไมแตกตางกันมากนัก เพราะสวนใหญแลวเนนการแกไขปญหาทั้ง 3 ประการนี้ โดยเฉพาะการจัดหาและ
                 พัฒนาแหลงน้ํา จะแตกตางกันเพียงแตการขับเคลื่อนหรือจัดทําแผนปฏิบัติการขึ้นรองรับที่ไมสามารถ

                 ดําเนินการตามนโยบายที่กําหนดขึ้นไดทุกดาน เพราะสาเหตุหลายประการ และมีการเปลี่ยนแปลงไป
                 ตามแตจะกําหนดโดยรัฐบาลคณะใหมที่เขามาบริหารประเทศ จึงทําใหนโยบายขาดเอกภาพและมีปญหา
                 สะสมมาตามลําดับ สงผลใหยังคงมีปญหาทั้ง 3 ประการนี้อยูในปจจุบันและมีแนวโนมวาจะรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต





                                                               ง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11