Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3-14
มาบริหารประเทศ และรัฐบาลคณะที่ 61 ไดจัดทํายุทธศาสตรการบริหารจัดการน้ําขึ้นแทนตามมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 โดยขอเท็จจริงแลว วัตถุประสงคหลักของนโยบายคณะที่ 60 เนนใน
ดานแกไขปญหาอุทกภัยเปนหลัก สวนนโยบายของรัฐบาลคณะที่ 61 ครอบคลุมทั้งปญหาการขาดแคลนน้ํา
อุทกภัย และคุณภาพน้ํา และรัฐบาลทั้งคณะที่ 60 และ61 ตางก็ตองกูเงินมาดําเนินการเชนเดียวกัน ถึงแมวา
วิธีการและกฎระเบียบในการกูเงินจะแตกตางกัน จึงสรุปไดวาวัตถุประสงคหลักของนโยบายทั้งของรัฐบาล
คณะที่ 60 และ 61 มีสวนที่สอดคลองกับนโยบายที่กําหนดไวในแผนพัฒนาฯ จะแตกตางกันในวิธีปฏิบัติหรือ
การขับเคลื่อนเทานั้น
นโยบายที่แตกตางอยางชัดเจนก็คือการเรงรัดการตราพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ําของ
รัฐบาลคณะที่ 61 และกระบวนการจัดทํายุทธศาสตรการบริหารจัดการน้ําที่ผานการมีสวนรวมของประชาชน
รวมทั้งขอบเขตการบริหารจัดการที่ครอบคลุมทั้ง การขาดแคลนน้ํา อุทกภัย และคุณภาพน้ํา
จากการทบทวนนโยบายน้ําไทยจากอดีตสมัยสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1762 ถึงปจจุบันจะสรุปไดวา
นโยบายน้ําเริ่มตนเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค และไดขยายไปสูการใชน้ําเพื่อกิจกรรมอื่นๆ ในเวลา
ตอมาตามการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้นโยบายน้ําที่กําหนดขึ้นในอดีตถึง
ปจจุบันนั้นสรุปไดวามีวัตถุประสงคหลักเพื่อแกไขปญหาทรัพยากรน้ํา 3 ประการ คือ (1) การขาดแคลนน้ํา
หรือภัยแลง (2) อุทกภัย และ (3) คุณภาพน้ํา สาระสําคัญของนโยบายน้ําที่กําหนดขึ้นในอดีตถึงปจจุบัน จึงมี
สาระสําคัญที่ไมแตกตางกันมากนักหรือสอดคลองกัน เพราะสวนใหญแลวเนนการแกไขปญหาทั้ง 3 ประการนี้
โดยเฉพาะการจัดหาและพัฒนาแหลงน้ํา จะแตกตางกันเพียงแตการขับเคลื่อนหรือจัดทําแผนปฏิบัติการขึ้น
รองรับที่ไมสามารถดําเนินการตามนโยบายที่กําหนดขึ้นไดทุกดาน เพราะสาเหตุหลายประการ และการ
ขับเคลื่อนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแตจะกําหนดโดยรัฐบาลคณะใหมที่เขามาบริหารประเทศ จึงทําให
นโยบายขาดเอกภาพและมีปญหาสะสมมาตามลําดับ สงผลใหยังคงมีปญหาทั้ง 3 ประการนี้อยูในปจจุบันและมี
แนวโนมวาจะรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต
3.4.2 การวิเคราะหเปรียบเทียบนโยบายเฉพาะเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติและดําเนินการ
จากการวิเคราะหเปรียบเทียบนโยบายเฉพาะเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และดําเนินการในชวง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 1-11 นั้นไดนํามาจัดเปนกลุมได 13 กลุม คือ
(1) การจัดหาน้ําและการพัฒนาแหลงน้ํา
(1.1) แหลงน้ําขนาดใหญ แหลงน้ําขนาดกลาง แหลงน้ําขนาดเล็ก สระน้ําในไร-นา
การขุดลอกแหลงน้ําธรรมชาติ
(1.2) การพัฒนาน้ําบาดาล
(1.3) การจัดหาน้ําอุปโภค-บริโภค
(1.4) การจัดหาน้ําเพื่ออุตสาหกรรม
(1.5) การสูบน้ําดวยไฟฟาเพื่อการเกษตร
(2) การพัฒนาการเกษตรชลประทาน
(3) การชวยเหลือราษฎรที่ไดรับผลกระทบจากการกอสรางเขื่อน
(4) การเตรียมการและชวยเหลือราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ
(4.1) ภัยแลง
(4.2) อุทกภัย