Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                          ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์สำ�หรับผลิตภัณฑ์แปรรูป





                    บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่หลักคือการเก็บรักษาและช่วยปกป้องผลิตภัณฑ์จากสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลให้เกิดการเสื่อมเสีย
            ของผลิตภัณฑ์ทั้งที่เกิดจากทางกายภาพ เช่น การแตกหักเสียหายจากการกดทับ การตกกระแทก และการสั่นสะเทือน
            ระหว่างการลำาเลียงขนส่ง  และความเสื่อมเสียทางเคมีจากปัจจัยต่าง  ๆ  เช่น  ความชื้น  อุณหภูมิ  แสงและจุลินทรีย์

            ที่ทำาให้เกิดการแปรสภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์เกินกว่าระดับที่ผู้บริโภคยอมรับได้ ดังนั้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์นั้น
            ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์  กล่าวคือการพัฒนาและเลือกใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเสียหาย
            ของผลิตภัณฑ์นั้นถือว่าเป็นศาสตร์  ส่วนการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำาผลิตภัณฑ์ออกมาใช้งาน
            การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายผ่านทางข้อมูลของฉลากหรือสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยการออกแบบ

            ให้บรรจุภัณฑ์มีรูปลักษณ์และสีสันที่สวยงามนั้นถือว่าเป็นศิลป์ หากพิจารณาสินค้าในตลาดปัจจุบันพบว่าบรรจุภัณฑ์
            จะถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำาคัญของผลิตภัณฑ์ที่ต้องสามารถสื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ต่อผู้บริโภคโดยทันที การสื่อสาร
            สามารถอาศัยการบ่งชี้ผ่านตราสินค้าและ/หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต และแสดงชนิดลักษณะประเภทของสินค้า
            ให้ผู้บริโภคมองเห็นได้ง่ายด้วยการใช้รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  ตัวอักษรและสีสันที่เด่นชัดสามารถแสดงความแตกต่าง

            จากผลิตภัณฑ์แข่งขันอื่น ๆ ได้เพื่อให้เกิดการสะดุดตาและการจดจำาได้ง่ายมีประสิทธิภาพทางการสื่อสารและเกิด
            ผลกระทบด้านจิตวิทยาและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคนอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังถือเป็นองค์ประกอบร่วมในการกำาหนด
            ราคาขายสินค้าด้วยเนื่องจากได้ถูกรวมในต้นทุนการผลิต  โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการกำาหนดราคา
            เช่น  ราคาต้นทุนของวัสดุบรรจุภัณฑ์  กรรมวิธีการผลิต  การเก็บรักษาและการขนส่งบรรจุภัณฑ์  ซึ่งปัจจัยเหล่านี้

            มิใช่เพียงแต่มีผลต่อการกำาหนดราคาของสินค้าเท่านั้น แต่ยังทำาให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนไปอย่างครบวงจร
            จึงนับได้ว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
            และเทคโนโลยี ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและวิถีการดำาเนินชีวิตของสังคมในแต่ละยุคสมัยได้ดีอีกด้วย
                    สำาหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากมันสำาปะหลังในโครงการนั้น หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ไม่เพียงแต่ทำาการปกป้อง

            อาหารจากผลกระทบหรือสิ่งเร่งเร้าภายนอก แต่ตัวบรรจุภัณฑ์เองก็ไม่ควรส่งผลกระทบต่ออาหารทางใดทางหนึ่ง
            ตามมาตรฐานของวัสดุสัมผัสอาหาร  อีกคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่สำาคัญคือต้องสามารถยับยั้งการซึมผ่านของแก๊ส
            และไอน้ำาในอากาศที่จะส่งผลทำาให้เกิดการเสื่อมสภาพของสี  การเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและไขมันไม่อิ่มตัว
            การสูญเสียสภาพธรรมชาติของสารอาหารบางตัวและเกิดการสูญเสียคุณภาพทางประสาทสัมผัส  ในทำานองเดียวกัน

            บรรจุภัณฑ์ก็ต้องสามารถกั้นหรือป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นจากอาหารไปยังสภาพแวดล้อมภายนอกด้วย เป็นการช่วยลด
            การคายน้ำาและการสูญเสียน้ำาหนักของผลิตภัณฑ์
                    บรรจุภัณฑ์สำาหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากมันสำาปะหลังสามารถผลิตได้จากวัสดุหลากหลายประเภท  ทั้งโลหะ
            พลาสติกและกระดาษ และสามารถผลิตขึ้นได้หลากหลายลักษณะหรือรูปแบบขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและข้อกำาหนด

            ของวัสดุสัมผัสอาหาร  บรรจุภัณฑ์อาหารโดยทั่วไปเป็นบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ  (primary  packaging)  ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
            หรือชั้นที่อยู่ติดหรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์อาหารแม้ว่าบรรจุภัณฑ์ชั้นนี้จะมีโอกาสปกป้องสินค้าได้จากอันตรายทางกายภาพ
            และเคมีได้ระดับหนึ่ง ทว่าก็ยังมีข้อด้อยในการปกป้องอันตรายทางกายภาพได้ ดังนั้นจึงอาจพบบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ
            (secondary packaging) ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ในชั้นถัดไป อย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิอาจเรียกเป็นบรรจุภัณฑ์

            หน่วยขายปลีก (retail packaging) ได้ ซึ่งบรรจุภัณฑ์หน่วยขายปลีกที่นิยมใช้และสามารถประยุกต์กับผลิตภัณฑ์อาหาร
            ที่ทำาจากมันสำาปะหลังได้สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้











            36          มันสำ�ปะหลังไทยกินได้�สร้างรายได้ให้เกษตรกร
                        โครงการแปรรูปมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42