Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การวิเคราะห์ต้นทุน�จุดคุ้มทุน�และการตลาดพื้นฐาน
ในการดำาเนินการของทุกธุรกิจจะต้องเผชิญกับการแข่งขัน ดังนั้นธุรกิจจะต้องมีการเตรียมพร้อมข้อมูลในทุก ๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านต้นทุน หรือด้านการวางแผนกำาไร เพื่อให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจ วิเคราะห์
และวางแผนทั้งในระยะสั้นและยาว ในที่นี้จะกล่าวถึง การวิเคราะห์ต้นทุนและจุดคุ้มทุน อย่างง่าย และการตลาดพื้นฐาน
เพื่อให้ผู้เริ่มธุรกิจมีความเข้าใจในการวิเคราะห์หาผลกำาไร ที่ธุรกิจจะได้รับและสามารถวางแนวทางการเงินและการวางแผน
กลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างถูกต้อง
การวิเคราะห์ต้นทุนและจุดคุ้มทุน�
ในการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของจำานวนหน่วยที่เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านต้นทุนและกำาไร การวิเคราะห์ต้นทุน
ปริมาณและกำาไรเป็นเครื่องมือที่สำาคัญอย่างหนึ่ง ที่ทุกธุรกิจต้องนำามาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจก่อนจะมีการวิเคราะห์
จุดคุ้มทุน ธุรกิจจะต้องสามารถวิเคราะห์ต้นทุนได้ก่อน การจัดแบ่งต้นทุนตามพฤติกรรมแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ต้นทุนผันแปร (Variable costs) และต้นทุนคงที่ (Fixed cost) โดยต้นทุนรวมจะเกิดจากผลรวมของต้นทุนผันแปร
และต้นทุนคงที่
ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) คือ ต้นทุนที่ถึงแม้จะไม่มีการผลิตก็จะมีต้นทุนเกิดขึ้น และถึงแม้มีการผลิตเป็นจำานวนมาก
ต้นทุนก็คงเดิม ได้แก่ ค่าเช่าต่างๆ (เช่น ที่ดิน อาคารโรงงานผลิต สำานักงาน) ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่าง ๆ เงินเดือน
พนักงาน ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ค่าภาษีต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม
ต้นทุนผันแปร (Variable cost) คือ ต้นทุนที่ราคาต่อหน่วยเท่ากันทุกหน่วย โดยมีค่าผันแปรไปตามยอดขายสินค้า
หรือบริการ ซึ่งทำาให้ต้นทุนโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มผลิต โดยต้นทุนผันแปรนี้แบ่งย่อย ออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
1) ต้นทุนผันแปรในส่วนการผลิตได้แก่ ต้นทุนที่จะที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น วัตถุดิบ
(Materials) แรงงานการผลิต (Labor) สินค้าที่ซื้อมาสำาหรับการผลิต (Finished Goods for Production) ค่าโสหุ้ย
หรือค่าใช้จ่ายในการผลิต (Production Overhead) เป็นต้น ในส่วนแรงงานการผลิต นั้นจะคิดเฉพาะแรงงาน ที่จะมี
ค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายเมื่อมีการผลิตเท่านั้น
2) ต้นทุนผันแปรในการขายและบริหาร ได้แก่ ต้นทุนที่จะที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการขายและบริหาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว
จะมาจากเงื่อนไข นโยบาย หรือข้อกำาหนดของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น ค่านายหน้า (Commission) ซึ่งถ้าไม่มีการขายสินค้า
หรือบริการ ก็จะไม่เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หรืออาจจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าประชาสัมพันธ์
ค่าเลี้ยงรับรอง เป็นต้น
มันสำ�ปะหลังไทยกินได้�สร้างรายได้ให้เกษตรกร 41
โครงการแปรรูปมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชน