Page 41 -
P. 41

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                    นอกจากนี้การติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์ก็ถือเป็นเครื่องมือที่สำาคัญในการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ คำาแนะนำาการใช้
            และแหล่งผลิต การออกแบบฉลากบนบรรจุภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำาหนดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
            ว่าด้วยการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุด้วย โดยสาระสำาคัญบนฉลากและบรรจุภัณฑ์ต้องประกอบด้วย

            ชื่ออาหาร  ขนาดบรรจุ  (น้ำาหนักหรือปริมาตรสุทธิ)  เลขสารบบอาหารที่ออกโดยสำานักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.)
            ส่วนประกอบที่สำาคัญเป็นร้อยละของน้ำาหนัก ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ สารก่อภูมิแพ้ที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย
            หรือปฏิกิริยาผิดปกติต่อผู้บริโภค วัตถุเจือปนอาหาร วิธีการเก็บรักษา ข้อมูลของผู้ผลิต ผู้นำาเข้า หรือผู้จัดจำาหน่าย วันผลิต
            และวันหมดอายุเป็นต้น







































                  ที่มา: http://www.mama.co.th/imgadmins/news_photoBig/mama_csr_2013-05-27_14-30-54.jpg


                    แม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการบรรจุขึ้นมากมายเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการ
            ของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ยกตัวอย่างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการบรรจุที่สำาคัญเช่น active and intelligent packaging
            ซึ่งสามารถบ่งชี้การเสื่อมเสียหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารได้ตามระยะการเก็บรักษา เป็นต้น และถึงแม้ว่าเทคโนโลยี

            ทางการบรรจุจะมีการพัฒนาไปค่อนข้างมากและมีบรรจุภัณฑ์ทางเลือกหลากหลาย  แต่ทั้งนี้ในการพิจารณาเลือกบรรจุภัณฑ์
            ก็มีเกณฑ์กว้างได้แก่ ชนิดและมูลค่าของสินค้า ขนาดและปริมาณบรรจุเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
            รูปแบบของบรรจุภัณฑ์เป็นต้น ทั้งนี้โดยสรุปแล้ว หากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและมีวิธีการ
            บรรจุที่ถูกต้องจะช่วยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารตลอดกระบวนการผลิต ขนส่งและกระจายสินค้า ทำาให้สินค้า

            คงอยู่ในสภาพดีและเป็นที่ยอมรับเมื่อถึงมือผู้บริโภค  นอกจากการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว
            วิธีการเก็บรักษาภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ว่าอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่างก็จะช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า
            ได้อีกทางหนึ่งด้วย




                                                              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เลอพงศ์ จารุพันธ์





            40          มันสำ�ปะหลังไทยกินได้�สร้างรายได้ให้เกษตรกร
                        โครงการแปรรูปมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46