Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุนสินค้า จำานวนสินค้าที่ขาย และกำาไรจากการขายสินค้าเพื่อดูว่าธุรกิจ
จะต้องผลิตและขายสินค้าเป็นจำานวนเท่าใดจึงจะคุ้มทุนพอดี เรียกว่าจุดคุ้มทุนหรือ Breakeven point โดยส่วนที่เลยจุด
หรือระดับของรายได้ดังกล่าวคือผลกำาไรที่ธุรกิจจะได้ ธุรกิจอาจใช้จุดคุ้มทุนเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเกี่ยวกับ
การกำาหนดราคาขายปริมาณขาย และกำาไรได้ ในการคำานวณหาจุดคุ้มทุนมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ราคาขายต้นทุน
ผันแปร ต้นทุนคงที่ จำานวนสินค้าที่ขาย และสัดส่วนของการขายสินค้า ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ได้หลายลักษณะในที่นี้
จะกล่าวถึง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนโดยใช้สมการ
ยอดขาย = ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนผันแปร + กำาไรสุทธิ
ดังนั้น
ปริมาณ ณ จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่ + กำาไรสุทธิ
ราคาขาย – ต้นทุนผันแปร
ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน (บาท) = ปริมาณ ณ จุดคุ้มทุน x ราคาขายต่อหน่วย
ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมมันสำาปะหลัง ขนาดถ้วย 55 กรัม มีต้นทุนคงที่ 36,000 บาท
ต้นทุนผันแปรเท่ากับ 9 บาทต่อถ้วย และมีราคาขาย 29 บาทต่อถ้วย
การคำานวณหาจุดคุ้มทุนโดยใช้สมการ ดังนี้
ปริมาณ ณ จุดคุ้มทุน (หน่วย) = 36,000 + 0 = 1,800 ถ้วย
29 – 9
ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน (บาท) = 1,800 x 29 = 52,200 บาท
การตลาดพื้นฐาน
ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่นิยมใช้โดยมาก จะใช้ส่วนประสมทางการตลาด 4P หรือที่เรียกว่า marketing
mix ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) การจัดจำาหน่าย (Place) การกำาหนดราคา (Price) การส่งเสริมการตลาด
(Promotion) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำาคัญในการดำาเนินงานการตลาด โดยทุกปัจจัยมีความเกี่ยวข้องกัน
และแต่ละตัวมีความสำาคัญเท่ากัน ขึ้นอยู่กับแต่ธุรกิจจะให้ความสำาคัญกับปัจจัยใดมากกว่ากัน เพื่อให้สามารถวางแผน
ในแต่ละส่วนให้เข้ากัน และตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
1.�ผลิตภัณฑ์�(Product) คือ สินค้าหรือบริการที่ธุรกิจจะเสนอขายให้กับลูกค้า โดยแนวทางในการกำาหนด
ตัวผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมจะต้องดูว่า กลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยทั่วไป
กลยุทธ์ในการกำาหนดตัวผลิตภัณฑ์มี 2 รูปแบบ ได้แก่
1.1 กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือช่องทางการขาย โดยการสร้าง
ความแตกต่างนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถรับรู้และตระหนักได้ว่าแตกต่างกันและมีความพึงพอใจกับความต่างนี้
เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ง่ายต่อการเปิด ผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนด้วยน้ำาตาลธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ไร้กลูเตน ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่า
ผู้บริโภคให้ความสนใจและพิถีพิถันในการเลือกซื้อสินค้ามากกว่าแต่ก่อน โดยกลุ่มเป้าหมายของกลยุทธ์นี้มักจะเป็น
ลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะและมีการแข่งขันไม่สูงนัก
1.2 กลยุทธ์ด้านการตั้งราคา ธุรกิจเน้นการแข่งขันที่ราคาเป็นหลัก โดยการยอมลดคุณภาพในบางด้าน
ที่ไม่สำาคัญลงไป เช่น ลดต้นทุนการผลิต หรือใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพด้อยกว่า ซึ่งส่วนมากธุรกิจรายย่อยจะไม่สามารถแข่งขัน
ด้านต้นทุนกับธุรกิจรายใหญ่ได้ เนื่องจากปริมาณการผลิตและต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่ารายย่อย ดังนั้นธุรกิจรายย่อย
ควรเลือกกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างจะเหมาะสมกว่า
42 มันสำ�ปะหลังไทยกินได้�สร้างรายได้ให้เกษตรกร
โครงการแปรรูปมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชน