Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
15
ข. สวนที่ติดสีเขมชั่วคราว (facultative heterochromatin) เปนสวนที่ยอมติดสีเขมเชนกัน
สายใยโครมาตินขดตัวกันแนน แตอาจเปลี่ยนสภาพคลายเกลียวออกแลวติดสีจางได พบเกิดขึ้นในบาง
เซลลหรือในบางขั้นตอนของการเจริญเติบโต มีตําแหนงกระจายอยูทั่วไปบนแทงโครโมโซม สวน
ของโครโมโซมดังกลาวประกอบดวยดีเอ็นเอที่มีลําดับเบสซ้ํา ๆ กัน แตจํานวนไมมากเทากับที่พบใน
สวนที่ติดสีเขมตลอดเวลา เขาใจวาดีเอ็นเอในบริเวณนี้เกี่ยวของกับระบบควบคุมการทํางานของยีน
โครงสราง (structural gene)
สําหรับสวนที่ติดสีจางเปนสวนของโครโมโซมที่สายใยโครมาตินขดตัวไมแนน ดีเอ็นเอ
ของโครโมโซมในบริเวณนี้มีลําดับเบสไมซ้ํากัน (unique sequence) เปนที่อยูของยีนที่กําลังทํางาน
หรือยีนโครงสรางที่มีขบวนการถอดรหัส (transcription) เกิดขึ้น สวนที่ติดสีจางจะพบเปนบริเวณ
สวนใหญของโครโมโซม
2.3.2 โครโมเมียร (chromomere) มีลักษณะคลายลูกปดตอกันเปนสายยาวตลอดโครโมโซมใน
ระยะพะคีทีน (รูปที่ 2.5) โครโมเมียรจะยอมติดสีเขมมาก อยางไรก็ตามโครโมเมียรยังแบงออกไดเปน
2 ชนิด คือ ชนิดที่ยอมติดสีเขม (heterochromatic chromomere หรือ macrochromomere) และชนิดที่
ยอมติดสีจาง (euchromatic chromomere หรือ microchromomere) โครโมเมียรมีขนาดแตกตางกัน
กลาวคือ โครโมเมียรที่อยูติดกับเซนโตรเมียรจะมีขนาดใหญ และคอย ๆ เล็กลงในโครโมเมียรที่อยู
สวนปลายโครโมโซม จํานวนโครโมเมียรคอนขางจะคงที่ในแตละโครโมโซม และเปนลักษณะ
ประจําโครโมโซมนั้น ๆ ปจจุบันเปนที่ยอมรับกันวาโครโมเมียรเปนโครงสรางที่เกิดจากการขดตัว
(coiling) ของสายดีเอ็นเอ
chromomere
telomere
รูปที่ 2.5 (A) โครโมโซมไบวาเลนท (bivalent) ที่ระยะพะคีทีนแสดงโครโมเมียรที่มีขนาดใหญเมื่อ
อยูใกลเซนโตรเมียรและคอย ๆ เล็กลงเมื่ออยูทางปลายโครโมโซม (B) ไบวาเลนทที่ระยะ
พะคีทีนแสดงโครโมโซมที่มีรูปรางคลายลูกปดตอกันเปนสายยาว