Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
14
รูปที่ 2.4 ไอดิโอแกรมของ Agropyron orientale (2n = 28) โครโมโซมที่มีแซทเทลไลท (satellite)
จะแสดงไวในตําแหนงแรกโดยเรียงลําดับตามความยาวของแซทเทลไลท โครโมโซมที่
เหลือจัดเรียงลําดับตามความยาวของแขนสั้น
2.3 โครโมโซมในระยะพะคีทีนของการแบงเซลลแบบไมโอซิส
การศึกษารูปรางโครโมโซมในระยะพะคีทีนทําใหเรามองเห็นสวนประกอบตาง ๆ หลาย
อยางไดอยางชัดเจน เชน เซนโตรเมียร โครโมเมียร (chromomere) เทโลเมียร (telomere) นิวคลีโอลัส
ปม (knop) และสวนที่ติดสีเขม-จาง (heterochromatin-euchromatin) อยางไรก็ตามการศึกษารูปราง
โครโมโซมในระยะพะคีทีนจะใชไดกับสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีโครโมโซมขนาดสั้น เชน ขาว ขาวโพด
ขาวฟาง ขาวบารเลย พืชตระกูลยาสูบ ยูเกลียนา (Euchlaena) และมนุษย ทั้งนี้เนื่องจากวาถา
โครโมโซมมีขนาดยาวมากเราจะไมสามารถมองเห็นโครโมโซมทุกอันไดในระยะนี้
2.3.1 สวนที่ติดสีเขม-จาง (heterochromatin- euchromatin) โครโมโซมมีความสามารถในการติด
สียอมไมเทากันตลอดทั้งแทง ซึ่งจะสังเกตเห็นไดชัดเจนในระยะพะคีทีนของการแบงเซลลแบบไมโอ
ซิส หรือระยะโปรเฟสของการแบงเซลลแบบไมโตซิส สวนของโครโมโซมที่ติดสีเขมเรียกวา เฮตเทอ
โรโครมาติน (heterochromatin) สวนที่ติดสีจางเรียกวา ยูโครมาติน (euchromatin) นอกจากนี้ในสวน
ที่ติดสีเขมยังแบงยอยออกเปน
ก. สวนที่ติดสีเขมตลอดเวลา (constitutive heterochromatin) มีตําแหนงเฉพาะเจาะจงบน
โครโมโซม สายใยโครมาติน (chromatin fiber) ของโครโมโซมบริเวณนี้จะขดตัวกันแนน
ประกอบดวยดีเอ็นเอที่มีลําดับเบสซ้ํา ๆ กัน (repetitive sequence) จํานวนมาก ดีเอ็นเอในสวนนี้จะไม
ทําหนาที่ถอดรหัส (transcription) และการสรางจําลองแบบตัวเอง (DNA replication) จะชากวาดีเอ็น
เอในสวนอื่น ๆ ของโครโมโซม สวนที่ติดสีเขมแบบนี้มักจะพบอยูใกล ๆ กับเซนโตรเมียร ที่สวน
ปลายทั้งสองขางของโครโมโซม ที่แซทเทลไลท หรือพบที่บริเวณที่มีการสรางนิวคลีโอลัส (NOR)
สวนที่ยอมติดสีเขมตลอดเวลาพบประมาณ 10 % ของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง