Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
82
โครสร้างพืช
ทางผ่านของเส้นใยเชื้อรา รวมทั้งก๊าซออกซิเจน และน้ า ที่จะผ่านทาง vessel เหล่านี้ พืชที่มีความ
ทนทานโดยสาเหตุดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไม้สัก เต็ง รัง ประดู่แดง ตะเคียนทอง มะค่าโมง และอินทนิล เป็นต้น
ภาพที่ 4.17 เนื้อไม้ส่วนที่เป็น heart และ sap wood
เนื่องจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีการเจริญขั้นสอง ดังนั้นพืชพวกนี้มักมีล าต้นแคบ ได้แต่สูงขึ้นไป
เรื่อยๆ การที่ล าต้นโตหรือกว้างขึ้นได้บ้างนั้นเนื่องจากเซลล์ภายในขยายตัวใหญ่ขึ้นตามอายุเท่านั้น แต่
บางชนิดจะมีเนื้อเยื่อเจริญเรียกว่า primary thickening meristem ที่คล้ายกับแคมเบียม และแบ่งตัวมี
เนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น เช่น มะพร้าว และปาล์ม เป็นต้น ล าต้นของพืชตระกูลหญ้าหลายชนิดมีการเจริญยืด
ยาวผิดจากพืชอื่นๆ โดยที่โคนปล้องแต่ละปล้องมีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ จึงแบ่งตัวท าให้ล าต้นยืดยาวขึ้นโดยไม่
เกี่ยวกับการยืดตัวของปล้องเลย เนื้อเยื่อเจริญที่โคนปล้องนี้เรียกว่า intercalary meristem และการ
เจริญโดยการยืดตัวของเนื้อเยื่อนี้เรียกว่า intercalary growth นอกจากนี้ล าต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบาง
ชนิดมีแคมเบียมเกิดขึ้น ท าให้ได้กลุ่มท่อล าเลียงขั้นสอง (secondary vascular bundle) ที่มักเรียงตัวกัน
อย่างมีระเบียบ ล าต้นจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นและคล้ายต้นพืชใบเลี้ยงคู่มากขึ้น เช่น หมากผู้หมากเมีย เข็ม
กุดั่น ว่านหางจรเข้ และป่านศรนารายณ์ เป็นต้น
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ